โครงการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)


โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org

บทนำ
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน สังคม และประเทศ ถือเป็นเจตนารมณ์ร่วมในการจัดการศึกษาของประเทศส่วนใหญ่ หากแต่มีความแตกต่างกันในสาระที่เป็นจุดเน้น และการดำเนินการตามปรัชญา แนวความคิดพื้นฐาน วิสัยทัศน์ และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในแต่ละยุคสมัย อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ และกระแสการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจฐานความรู้ ทำให้ผู้นำประเทศต้องคิดถึงกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาที่มีการใช้ความรู้ และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการผลิตและพัฒนา เพื่อตอบสนองสิ่งท้าทายและกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับประเทศไทย การปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่สำคัญ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยฉบับแรก ในการนำสาระนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการศึกษา ดังบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการเสริมสร้างโอกาสในการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกคน ซึ่งถือเป็นประเด็นปฏิรูปการศึกษาที่มีความสำคัญยิ่งมาอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประประสงค์ดังกล่าวข้างต้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาควบคู่กันไปคือ การพัฒนาระบบติดตาม ชี้วัดและประเมินผลการจัดบริการด้านการศึกษาของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งแตกต่างไปจากการติดตามประเมินผลในภาพรวมของประเทศ (เช่น การบอกจำนวนร้อยละของประชากรที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น) ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาซึ่งยังขาดกรอบความคิดในการประเมินความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา ทั้งในระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลลัพธ์สุดท้าย รวมทั้งการพิจารณาที่จำแนกตามสังกัดของโรงเรียน ขนาด และพื้นที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาในการจัดบริการการศึกษาให้ได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ควบคู่ไปพร้อมกับการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดบริการทางด้านการศึกษาเชิงพื้นที่ คือ การพัฒนารูปแบบในการวิเคราะห์และประเมินผลการจัดบริการทางด้านการศึกษา โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) ในหลากมิติ ทั้งข้อมูลทางด้านสภาพปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ (Problem) ลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ของพื้นที่ (Geography) อุปสงค์ทางด้านผู้เรียน (Demand) อุปทานทางด้านผู้สอนและสถานศึกษา (Supply) รวมไปถึงเป้าหมาย (Target) ในการจัดบริการในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ (Analysis) และสังเคราะห์ (Synthesis) เพื่อลำดับความสำคัญเร่งด่วน ตามสภาพความต้องการและสภาพปัญหา ออกแบบและจัดทำตัวชี้วัดทางด้านประสิทธิผลในการจัดบริการการศึกษาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพปัญหา ทุนทางสังคมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการและการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดบริการทางการศึกษา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียม เป็นธรรม เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่น มีความสามารถในการเจริญเติบโตและพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นพลวัต (Dynamics) และยั่งยืน

วัตถุประสงค์โครงการ
  1. การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ทางด้านการจัดบริการการศึกษา
  2. การประชุมเชิงปฏิบัติการและสำรวจจัดเก็บข้อมูลทางด้านการจัดบริการการศึกษา
  3. การออกแบบและพัฒนาระบบการนำเข้าข้อมูลทางด้านการให้บริการการศึกษาเชิงพื้นที่
  4. การออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่
  5. การวิเคราะห์และประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis)
  6. การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการเชิงนโยบายในการบริหารจัดการและการตัดสินใจในการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่

ขอบเขตการดำเนินงาน
  1. ออกแบบและพัฒนา รวมถึงการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในภาคสนาม (พื้นที่ต้นแบบ จำนวน 1 เขตการศึกษา) ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมถึงข้อมูลลักษณะและสภาพทั่วไปในการจัดบริการด้านการศึกษาให้กับประชาชนในพื้นที่ เช่น จำนวนสถานศึกษาที่เปิดสอนในระดับต่างๆ จำนวนผู้บริหาร ครู/อาจารย์ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ภูมิลำเนา จำนวนนักเรียน นักศึกษาจำแนกตามกลุ่มอายุ เป็นต้น
  2. ฐานข้อมูลการจัดบริการการศึกษา แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลด้านอุปสงค์ (Demand) หรือข้อมูลด้านความต้องการในการรับบริการการศึกษา และข้อมูลด้านอุปทาน (Supply) หรือข้อมูลด้านการให้บริการการศึกษา
  3. ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Database) เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของข้อมูลเชิงพื้นที่ จะครอบคลุมถึงข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคมในด้านต่างๆ
  4. การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และประเมินผลประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการจัดบริการทางด้านการศึกษาเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) โดยเน้นเกณฑ์ด้านโอกาสในการเข้ารับการศึกษาของประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่อย่างครอบคลุมทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม ประกอบกับเกณฑ์ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดบริการการศึกษา รวมทั้งความพึงพอใจของประชากรกลุ่มเป้าหมายต่อการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่
  5. การจัดกลุ่มพื้นที่ของผู้รับบริการและกลุ่มพื้นที่ของผู้ให้บริการ (ระดับหมู่บ้าน จังหวัด เขตพื้นที่) ภาคภูมิศาสตร์และกลุ่มพื้นที่ของผู้ให้บริการ (สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา) ที่สามารถจัดบริการทางด้านการศึกษาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ) และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลผลิต (Output)
  1. รายงานการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ : การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
  2. รายงานการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ : การอาชีวศึกษาและฝึกอบรม
  3. รายงานการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ : การอุดมศึกษา
  4. การจัดกลุ่มพื้นที่ของผู้รับบริการและกลุ่มพื้นที่ของผู้ให้บริการ และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่
  5. มาตรการเบื้องต้นเชิงนโยบายในการบริหารและการตัดสินใจการจัดบริการทางด้านการศึกษาเชิงพื้นที่
ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่ได้รับบริการทางด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการอย่างแท้จริง
  2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่สามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผล
  3. รัฐบาลจัดสรรทรัพยากรทุกประเภทในการสนับสนุน ส่งเสริม และเพิ่มโอกาสในการเข้ารับการศึกษาของประชากรได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล
  4. การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo - Informatics) และเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ human hair uk เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดบริการการศึกษาในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นพลวัต (Dynamics)
แนวทางและเทคนิคในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในเชิงพื้นที่



ข้อมูลเพิ่มเติม
<< Back TOP ^
We understand the challenges that come with virgin hair for your hair extensions from a computer screen. Rest assure, the team of dedicate experts at human hair wigs like further assistance, please send a photo to our team at our human hair extensions store. They will try their best to assist you in finding your perfect match! Here are some things to consider when deciding on hair extension lengths. Hair extensions are an ideal option for anyone who wants to full lace wigs to a haircut gone awry or just to try something new.