×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับโรคไข้หวัดนก ในพื้นที่เฉพาะ


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org

บทนำ
           จากกระแส ของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และการปฏิวัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Revolution) ทำให้สังคมหมู่บ้านโลก (Global Village) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ มิติ การไปมาหาสู่ การท่องเที่ยว รวมถึงการค้าขาย - แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงการเดินทางระหว่างประเทศและระหว่างทวีปของประชาชน เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกิจกรรมทางด้านการผลิตอาหารและทางด้านการปศุสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดการเคลื่อนย้าย ขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งพาหะสำคัญของโรคระบาดหลายประเภทที่สามารถติดต่อกับมนุษย์ได้ เช่น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคแอนเทรกซ์ โรควัวบ้า รวมถึงโรคไข้หวัดนกที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว ไม่เพียงส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเชื่อมั่น ซึ่งยังความหวาดระแวงให้เกิดกับประชาชนจำนวนมากที่ไม่กล้าบริโภคสัตว์ปีก ทั้งๆ ที่เป็นอาหารหลักของคนส่วนใหญ่

           โรค อุบัติใหม่ (Emerging disease) หรือ โรคอุบัติซ้ำ (Re-emerging disease) ที่สำคัญ คือ โรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเกิดได้ในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งหากสามารถตรวจพบแหล่งแพร่เชื้อ หรือจุดกำเนิดของโรคและสามารถควบคุม จำกัดวงและขอบเขตความเสียหายของพื้นที่ได้รวดเร็วมากเท่าใด ก็ยิ่งสามารถยับยั้งหรือควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ทันท่วงที ซึ่งการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ดังกล่าว ย่อมต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำที่ครอบคลุม ครบถ้วน และได้มาในเวลาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินผลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่ทัน สมัย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนการดำเนินงานและการตัดสินใจในการควบคุมโรคอุบัติใหม่หรือโรค อุบัติซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเบื้องต้นสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้พบว่าในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง 10 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดนครปฐม มีปัญหาและการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก (Avian flu) มากในช่วงปีที่ผ่านมา จึงกำหนดให้เป็นพื้นที่ศึกษาสำหรับการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการบริหาร จัดการและการตัดสินใจ ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคดังกล่าวต่อไป

               การนำรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการสนับสนุนการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบิติ ใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น ตำแหน่งการเกิดโรคระบาด ความแตกต่างทางสายพันธุ์ของเชื้อโรคในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่จะต้องทำลายแหล่งเกิดโรคและพื้นที่เฝ้าระวัง เป็นต้น ให้เข้ามาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงการนำข้อมูลทางด้านกายภาพพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจ รวมถึงการกำหนดมาตรการและนโยบายของผู้บริหารเพื่อการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาสถานการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำขึ้นอย่างเป็นพลวัต และยั่งยืน

วัตถุประสงค์โครงการ
  1. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิง พื้นที่ในการบริหารจัดการการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือ โรคอุบัติซ้ำ
  2. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลอง (Model) ในการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จาก FAO มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการควบคุมและเฝ้าระวัง การเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
  3. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรคในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
  4. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง พื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรค แนวโน้ม ความรุนแรง รวมถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
  5. เพื่อวิเคราะห์และจัดทำแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ โดยระบบสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรค อุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำเพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ศึกษา
  6. เพื่อฝึกอบรมบุคลกร ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการ บริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ

ขอบเขตการดำเนินงาน
  1. ทำการออกแบบและพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการ ควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน รวมถึงการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดนครปฐม
  2. ทำการวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรค (ในช่วงเวลา ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการควบคุม การป้องกัน และการเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
  3. ทำการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้และความสามารถในการทำงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรค อุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกอบรมบุคลากร จากจังหวัดในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 20 คน เป็นระยะเวลา 4 วัน


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์รูปแบบ แนวโน้ม และผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ เพื่อการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมถึงข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่
  2. รูปแบบการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และ ประเมินผลการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
  3. การเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้แบบจำลองในการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรค ติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จากผลการศึกษาของ FAO ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงพื้นที่
  4. การพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเพื่อใช้ สำหรับบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหารของหน่วยงาน ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่
  5. การประเมินผลและเปรียบเทียบข้อมูล (ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) ของการแพร่ระบาดของโรครวมทั้งระดับความรุนแรง คาบความซ้ำ เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคและพื้นที่ปลอดภัย แนวโน้มการกระจายตัวและลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาด ฯลฯ
  6. แนวทางในการกำหนดมาตรการและนโยบาย รวมถึงแผนกลยุทธ์เพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาด และโรคติดต่ออุบัติใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม