โครงการการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อการกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบ


โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

บทนำ
ทรัพยากรที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัดและฟื้นฟูกลับมาใช้ใหม่ได้ยาก ทรัพยากรที่ดินถือเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักในการดำรงชีพของมนุษย์เป็นเวลายาวนานนับแต่อดีต พื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ไม่เหมาะสมตามศักยภาพ และขาดการจัดการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง

สถานการณ์ปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้มีการแข่งขันเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาที่ดินเพื่อไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้มวลรวมของผลิตผลทางการเกษตรลดลง ขณะเดียวกันก็เพิ่มปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากสภาพธรรมชาติถูกทำลายโดยการถมพื้นที่ หรือเกิดการปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีในการผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต เป็นต้น นอกจากนี้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ชี้ให้เห็นว่าภาคการเกษตรซึ่งถือเป็นภาคการผลิตที่แท้จริง สามารถจะกู้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ดี ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการรักษาพื้นที่การเกษตรให้สามารถเป็นแหล่งผลิตอาหารและรายได้ที่มั่นคงของประเทศ จึงได้จัดทำข้อเสนอในการดำเนินโครงการการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อการกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ
  1. เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินและที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นแบบ
  2. เพื่อคุ้มครองพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นแบบ
  3. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรดินและที่ดินและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
    โดยมุ่งให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุดตามสมรรถนะที่ดินในพื้นที่ต้นแบบ
  4. เพื่อประยุกต์ผลการศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายด้านการจัดการเชิงพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตร
    ในภาพรวมของประเทศให้สามารถนำไปปฏิบัติได้
ขอบเขตการดำเนินงาน
  • พื้นที่ต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ และพื้นที่บริเวณเขตสงวนและรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
  • แปลข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Landuse) โดยทำการปรับปรุงประเภทของการจำแนกให้มีความเหมาะสมและ เป็นข้อมูลที่ทันสมัยโดยใช้มาตรฐาน
    ของกรมพัฒนาที่ดินเป็นข้อมูลอ้างอิง ซึ่งมีรายละเอียดการจำแนกข้อมูลในระดับภาพ human hair uk รวมของประเทศ (ระดับที่ 2) ในพื้นที่ต้นแบบ
ขั้นตอนการดำเนินงาน





ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

  • ระบบฐานข้อมูลพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นแบบที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านการจัดการเชิงพื้นที่ในภาพรวมอันจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามสมรรถนะ
  • มาตรการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรมในภาพรวมของพื้นที่ต้นแบบตามหลักวิชาการ
  • แนวนโยบายด้านการจัดการเชิงพื้นที่ในการกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตรในภาพรวมให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ

รายงานประกอบโครงการ :

<< Back TOP ^
I have been so rough with this lace wig. I have been on 27 day vacations swimming in human hair extensions and the 100 humid weather and hot sun beaming on my human hair and it has stood up through all of that full lace wigs and all the usual daily wear an tear. It is starting to get lace wigs uk and the hair is starting to lose its soft feel but I think that is pretty great considering all I have done to it on a daily for a year. This hair bundles for all scalp colors and makes sense if you have black hair on the lace wig.