การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยง
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk
assessment in Thailand: Pasak river basin approach

กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม

ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศบริเวณตอนเหนือของลุ่มน้ำป่าสัก 1. การป้องกัน (Prevent) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  • การสำรวจ วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ประวัติคาบความซ้ำของการเกิดภัยพิบัติ
  • ใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่ได้รับจากช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วมจริง
  • ปรับแบบจำลองและข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
  • จัดระบบการรับผลย้อนกลับ (Feed Back) ที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผนงานการป้องกันมีการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. การเตรียมการ (Preparation) ซึ่งสามารถให้รายละเอียดของสถานที่ เวลา และขนาดหรือ ปริมาณของความรุนแรงของภัยพิบัติน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น
  • การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบ GIS และ ข้อมูลสำรวจระยะไกล (RS) มาจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial modeling) เพื่อคำนวณหาสภาพน้ำฝน ร่วมกับ Meteorological model, น้ำท่า (ในแม่น้ำ) น้ำในที่ราบลุ่มแม่น้ำ (น้ำทุ่ง) ร่วมกับ Hydrological & Hydraulic models ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัต (Dynamics)
  • การทดลองสร้างสมมุติฐานจากแบบจำลองน้ำท่วม (Scenarios)
  • จัดทำ Flood hazard และ flood risk maps & models เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ของการคาดการณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและการเตือนภัย
  • การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามเพื่อปรับแก้แบบจำลองให้ถูกต้องมากขึ้น
  • การเตรียมการด้านการอพยพโยกย้าย คน สัตว์และสิ่งของ
  • การเตรียมความพร้อมในการป้องกันทางกายภาพ เช่น การสร้างแนวกั้นน้ำท่วม
3. การปฏิบัติการในช่วงวิกฤติ (Crisis) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการเมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมแล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยวัตถุประสงค์เพื่อ
  • การประเมินความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพี่อกำหนดแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
  • การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อการเตือนภัยในช่วงวิกฤติ และการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป
  • การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อปรับแก้แบบจำลองให้มีความถูกต้องมากขึ้น โดยการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อประเมินหาพื้นที่ภัยพิบัติและพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วมในแต่ละวัน และส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับขั้นตอนการเตรียมการ เพื่อจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการคาดการณ์ขยายผลการเตรียมการต่อไป ทั้งในพื้นที่วิกฤติและในพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าของลุ่มน้ำหรืออยู่ท้ายเขื่อนที่จะเกิดความเสียหายในลำดับต่อไป
  • การปฏิบัติการณ์ทันทีตามสภาพของความรุนแรงและความเสียหายในแต่ละพื้นที่โดยการจัดหน่วยช่วยเหลือเฉพาะกิจ/ฉุกเฉินเข้าพื้นที่ที่วิกฤติ ทำการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบวิกฤติน้ำท่วม
  • การลดความรุนแรงของวิกฤต (เช่น การจัดการกับพื้นที่ขวางทางน้ำ การเร่งระบายน้ำ การซ่อมบำรุงเฉพาะกิจสำหรับแนวกั้นน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือและลดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย เป็นต้น)
4. การประเมินความเสียหาย (Assess) หลังเกิดวิกฤติ (Post-Crisis) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการหลังจากเกิดสภาวะน้ำท่วมแล้ว ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
  • การจัดทำบัญชีรายการความเสียหาย เพื่อวางแผนและการจัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟู
  • การนำสารสนเทศมาประมวลผลการจัดการสำหรับเครื่องกลหนักทั้งหลาย
  • การประเมินข้อจำกัดและความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในการป้องกันในระยะยาวหรือการเกิดขึ้นอีกในอนาคต สำหรับระบบและแบบจำลองของการจัดการน้ำท่วมที่ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง










กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม

<< Back TOP ^