โครงการศึกษาวิจัยการจัดทำดัชนีชี้วัดและสำรวจความคิดเห็นเชิงพื้นที่ของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ] e - mail : ysombat@chula.ac.th บทนำ ด้วยปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปรับระบบการทำงานขององค์กรเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน ตลอดจนร่วมตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ สร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ การที่องค์กรจะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารองค์กรจึงจำเป็นต้องทราบถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ในการทำงานของตนเองอย่างชัดแจ้ง โดยเฉพาะการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวนโยบายที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดไว้ เพื่อผู้บริหารทราบถึงจุดแข็ง - จุดอ่อนที่ต้องส่งเสริม สนับสนุน หรือปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งผลการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าว เป็นสิ่งจำเป็นในการนำมาใช้กำหนดทิศทางของนโยบาย และเป้าหมายในการทำงานของหน่วยปฏิบัติการต่างๆ ที่รับผิดชอบพื้นที่ ตั้งแต่ระดับกองบัญชาการจนถึงสถานีตำรวจ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจในหน่วยปฏิบัติการต่างๆ ย่อมไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ถ้าขาดซึ่งความพร้อมของหน่วยงาน (X) กำลังคน (Y) และงบประมาณ (Z) ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา และการให้บริการประชาชน ที่ต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหา ซึ่งมาก - น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน ของหน่วยปฏิบัติต่างๆ ที่รับผิดชอบพื้นที่ จึ่งควรประเมินควบคู่ไปกับความพร้อมของหน่วยงาน กำลังคน และงบประมาณ รวมถึงสภาพของปัญหา และลักษณะของพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และนโยบายในการทำงานได้อย่างสอดคล้องกับอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นหนึ่งในพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในด้านการจัดเก็บ การรวบรวบ การวิเคราะห์ประมวลผลและการนำเสนอข้อมูลในเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการประเมินผลการปฏิบัติงานของตำรวจครั้งนี้ จะนำ GIS มาใช้ในการจัดเก็บและรวบรวมจัดสร้างเป็นฐานข้อมูล (GIS Database) เชิงพื้นที่ เพื่อทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ร่วมกับข้อมูลความคิดเห็นของกต.ตร. และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติตามพันธะสัญญาในการให้บริการประชาชน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกำลังพล หน่วยงาน และสภาพปัญหาและพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และนโยบายในการทำงานของหน่วยปฏิบัติการในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม รายงานประกอบโครงการ : |
|||||||||||||||||||||||||