การบรรยายในหัวข้อ "การประยุกต์ใช้จีไอเอส (GIS) และข้อมูลรีโมท เซนซิ่ง (Remote Sensing) เพื่อการประเมินผลกระทบสภาพทางกายภาพและธรณีวิทยาในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami) บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org
กระบวนการในการบริหารจัดการพิบัติภัยทางธรรมชาติ (Process for Hazard management)
กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการพิบัติภัย (Disaster Management Life Cycle)
การป้องกัน (Prevent)
- การสำรวจ วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ประวัติคาบความซ้ำของการเกิดธรณีพิบัติภัย
- ใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่ได้รับจากช่วงวิกฤติการณ์จริง
- การติดตั้งและตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวัดหรือติดตามตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การติดตาม ควบคุมและดูแลการบังคับใช้ผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามที่กำหนด
- การป้องกันทางวิศวกรรม เพื่อเพิ่มความมั่นคงและเพิ่มเสถียรภาพให้กับพื้นที่ที่ไม่มั่นคง ปรับแบบจำลองและข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
- จัดระบบการรับผลย้อนกลับ (Feed Back) ที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผนงานการป้องกันและการลดความเสียหายในอนาคต มีการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
- ฯลฯ
การเตรียมการ (Preparation)
- การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบ GIS และ ข้อมูลสำรวจระยะไกล (RS) มาจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial modeling) เพื่อคำนวณหาสภาพพื้นที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยในแต่ละช่วงเวลาและในแต่ละพื้นที่
- การทดลองสร้างสมมุติฐานจากแบบจำลองธรณีพิบัติภัยในหลายๆลักษณะ (Scenarios) เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจในช่วงวิกฤต
- จัดทำ geological hazard และ risk maps & models เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ของการคาดการณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและการเตือนภัย
- การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามเพื่อปรับแก้แบบจำลองให้ถูกต้องมากขึ้น
- การเตรียมการด้านการอพยพโยกย้าย คน สัตว์และสิ่งของ
- การเตรียมความพร้อมในการป้องกันทางกายภาพ เช่น การสร้างแนวกั้นธรณีพิบัติภัย
- ฯลฯ
การปฏิบัติการในช่วงวิกฤติ (Crisis)
- การประเมินความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพี่อกำหนดแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
- การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อการเตือนภัยในช่วงวิกฤติและการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป
- การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อปรับแก้แบบจำลองให้มีความถูกต้องมากขึ้น โดยการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อประเมินหาพื้นที่ภัยพิบัติและพื้นที่เสี่ยงภัยในแต่ละช่วงเวลา และส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับขั้นตอนการเตรียมการ เพื่อจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการคาดการณ์ขยายผลการเตรียมการต่อไป ทั้งในพื้นที่วิกฤติและในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่จะเกิดความเสียหายในลำดับต่อไป
- การปฏิบัติการณ์ทันทีตามสภาพของความรุนแรงและความเสียหายในแต่ละพื้นที่โดยการจัดหน่วยช่วยเหลือเฉพาะกิจ/ฉุกเฉินเข้าพื้นที่ที่วิกฤติ ทำการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบวิกฤติ
- การลดความรุนแรงของวิกฤต (เช่น การจัดการกับพื้นที่ขวางทางของธรณีพิบัติภัย การซ่อมบำรุงเฉพาะกิจสำหรับแนวกั้นความรุนแรงของพิบัติภัย และสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือและลดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย เป็นต้น)
- ฯลฯ
การประเมินความเสียหาย (Assess) หลังเกิดวิกฤติ (Post-Crisis)
- การจัดทำบัญชีรายการความเสียหาย (Inventory) เพื่อวางแผนและการจัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟู
- การวิเคราะห์เพื่อหาพื้นที่มีความสำคัญและเร่งด่วน (Selection of Priority Area) ในการฟื้นฟู
- การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ เงื่อนไขและปัจจัยที่ของการเกิดธรณีพิบัติภัย
- การประเมินข้อจำกัดและความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในการป้องกันในระยะยาวหรือการเกิดขึ้นอีกในอนาคต สำหรับระบบและแบบจำลองของการจัดการธรณีพิบัติภัยที่ต้องดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไป
- การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation) ขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสภาพความต้องการในการบริหารจัดการพิบัติภัยในแต่ละพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ฯลฯ
กลยุทธ์และนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ.ในการลดความสูญเสียจากพิบัติภัยทางธรรมชาติ (Governmental strategies and Policy Enactments for Reduction of Natural Hazards Losses)
Strategy |
Implementing policy enactment |
1. การหลีกเลี่ยงอันตราย (Hazard avoidance) |
การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน การควบคุมด้วยกฎหมาย การเข้าควบคุมพื้นที่ด้วยการกำหนดให้รัฐเป็นเจ้าของพื้นที่เสี่ยงภัย (เวนคืน จัดซื้อที่ดิน ฯลฯ) |
2. การกำหนดโครงสร้างของพื้นที่เพื่อบรรเทาความเสียหาย (Area structural mitigation) |
การลงทุนโดยรัฐบาล การควบคุมด้วยกฎหมาย
Governmental investments budgets,appropriations); subdivision control legislation |
3. การเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง (Structural strengthening /vulnerability reducing mitigations) |
การกำหนดประเภท (Codes) ของอาคารและบ้านเรือน การควบคุมด้วยกฎหมายและพระราชบัญญัติ |
4. การควบคุมทางด้านประชากร (Control of population) |
|
(อ้างอิงจาก : Geological Hazards : Their assessment , avoidance and mitigation , Bell ,F.G. , 1999)
|