Highlight

Research & Consultancy

Tsunami โศกนาฏกรรมอันดามัน

 
.....อย่าไปตระหนกตกใจกลัวจนเกินเหตุ...จากการให้ข่าวของนัก วิชาการ?จากหน้าตาทางสังคมที่ดูน่าเชื่อถือ?ขยันให้ข่าวสื่อแบบคาดเดาแบบไม่ มีเวลาชัดเจน...จากข่าวที่จะเกิดสึนามิขึ้นอีก (สึนามิที่มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวที่ไม่มีระบบใดบอกได้ล่วงหน้าก่อนการ เกิด) พูดแบบนี้ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ไปอธิบาย..ไม่ใช่ โหราศาสตร์ครับ:-) ....ความรู้ความเข้าใจเชิงพื้นที่จะทำให้เกิดความตระหนัก รู้หลักการ&ถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อม และเตือนอย่างเป็นระบบที่ดีกว่าเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว 9.0 เมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2547 ในทะเลอันดามัน (ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา) ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิต่อแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้านเรา ที่มีเวลาเวลาประมาณ 1.5 ชม. หลังเกิดแผ่นดินไหวก่อนที่คลื่นสึนามิจะถึงชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้าน เรา.....เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยปัญญาของเราได้เพิ่มเติมที่ ...รำลึก 9ปี สึนามิ @ 26 ธันวาคม 2547..ได้ที่
- ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ สำหรับระบบเฝ้าระวัง
  และการจัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต

- การประเมินความเสียหายของพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบจากสึนามิ โดยใช้เทคนิคการ
  ประเมินความแตกต่างของค่า NDVI ของภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat
   ก่อนและหลัง เหตุการณ์ คลื่นยักษ์ Tsunami

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ เขาหลัก จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประยุกต์ใช้ GIS และข้อมูล Remote Sensing เพื่อการประเมินผลกระทบเบื้องต้นทางกายภาพในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami)
Aftershocks of 26 Dec 04 - 27 Mar 05   Aftershocks of 28 Mar 05 - 1 Apr 05   Zoom ...   แผนที่แสดงรอยต่อแผ่นเปลือกโลกและตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดความ รุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2448 - 8 ตุลาคม 2548)
บริเวณทวีปเอเชีย และมหาสมุทรอินเดีย

Aftershocks of
26 Dec 04 - 27 Mar 05
  Aftershocks of
28 Mar 05 - 1 Apr 05
  for more information...

ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พิบัติภัยจาก ดินถล่ม-น้ำปนตะกอนบ่า-น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ

ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation)
 
เครื่องมือตรวจวัด (Sensor) ยานสำรวจ (Platform) ความละเอียด (Resolution) Satellite Applications Show Presentation..
 

เครื่องมือตรวจวัด (Sensor)
เครื่องมือ วัดในเทคโนโลยีรีโมทเซนชิง คือเครื่องมือที่วัดพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องมือซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวีดีโอ และเรดาร์ โดยเครื่องมือวัดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วนคือ

ส่วนรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (receiver) เป็นส่วนที่ทำ หน้าที่รับ และขยายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้มีความเข้มเพียงพอที่จะทำให้อุปกรณ์วัดสามารถ รับรู้ได้ ตัวอย่างของส่วนเครื่องมือนี้คือ เลนส์ของกล้อง และส่วนรับคลื่นวิทยุ (antenna) ซึ่งอาจเป็นเส้นเหมือนเสาวิทยุ หรือเป็นจานกลม (แบบจานรับสัญญาณดาวเทียม) ทั้งนี้รูปแบบ ขนาด และวัสดุที่ใช้ของอุปกรณ์ส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ ต้องการตรวจวัด และรายละเอียดของข้อมูลของสิ่งที่ต้องการสำรวจ เช่นในช่วงคลื่นแสง ส่วนที่รับมักจะเป็นเลนส์ที่ทำจากผลึก quartz โดยมีขนาดและรูปทรงขึ้นอยู่กับว่าต้องการกำลังขยายภาพเท่าใด ในช่วงคลื่นวิทยุ ส่วนที่รับมักจะเป็นจานวิทยุ หรือเสาวิทยุ โดยมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เล็กที่สุดที่ต้องการให้มองเห็น มีขนาดเท่าใด

ส่วนที่ทำการวัดพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Detector)
เป็นส่วนที่แปลงพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต้องการวัด ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องมือวัดจะเปรียบเทียบค่าได้ ซึ่งการวัดพลังงานอาจใช้
  • ปฏิกิริยาเคมี โดยการเคลือบสารที่ทำปฏิกิริยากับแสง (เช่น silver nitrate) ลงบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งขนาดของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดกับสารที่เคลือบจะแปรผันตามความเข้มของแสง ที่ตกกระทบ
  • การเปลี่ยนพลังงานเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) ซึ่งจะให้ความเข้มของสัญญาณไฟฟ้าแปรผันตามความเข้มแสงที่ตกกระทบ
  • นอกจากนั้นส่วน detector อาจเป็นแผ่นมีมิติกว้าง-ยาว เช่นแผ่นฟิล์ม ซึ่งสามารถบันทึกภาพได้ทั้งภาพในครั้งเดียว หรืออาจเป็น scanner ซึ่งมักจะประกอบขึ้นจากแถวของอุปกรณ์รับแสง ที่จะบันทึกภาพด้วยการกวาดอุปกรณ์รับแสงนี้ไปที่ละส่วนของภาพ (คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร ที่จะค่อยๆ กวาดภาพจากหัวกระดาษไปยังท้ายกระดาษจึงจะได้ภาพทั้งภาพ)
ส่วนที่ทำการบันทึกค่าพลังงานที่วัดได้ (Recorder)
อาจเป็นตัวแผ่นฟิล์มเองในกรณีการใช้แผ่นฟิล์มเป็นส่วนทำการวัดพลังงาน แต่ถ้าเป็นการวัดโดยแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่วนนี้อาจจะเป็นแถบแม่เหล็ก (เช่นเดียวกับที่ใช้ในกล้องถ่ายวีดีโอ) หรืออาจใช้หน่วยเก็บความจำอื่น เช่นฮาร์ดดิสก์ หรือ RAM เช่นเดียวกับที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ในส่วนของเครื่องมือวัดยังมีส่วนที่จะต้องพิจารณาอีกส่วนหนึ่งคือแหล่ง กำเนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการสำรวจ โดยจำแนกได้เป็นสองกลุ่มคือ
  • Active sensor เป็นระบบที่เครื่องมือวัดเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเองด้วย ในระบบรีโมทเซนซิงที่วัดจากระยะไกลมาก คลื่นกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้จะจำกัดอยู่ในช่วงคลื่นวิทยุเท่านั้น เนื่องจากปัญหาของแหล่งพลังงาน
  • Passive sensor เป็นระบบที่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดอื่น เช่นใช้แสงจากดวงอาทิตย์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สิ่งที่ต้องการสำรวจแผ่รังสีออกมาเอง (มักจะเป็นช่วงอินฟราเรดความร้อน) ในกรณีที่ใช้แสงจากดวงอาทิตย์ เครื่องมือวัดจะทำงานได้เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น นอกจากการศึกษารูปแบบของเมฆในทางอุตุนิยมวิทยา การตรวจวัดยังต้องการท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง ไม่มีเมฆ หรือฝนในช่วงที่ทำการตรวจวัดด้วย