×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

บทนำ
        ทรัพยากร ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัดและฟื้นฟูกลับมาใช้ใหม่ได้ยาก ทรัพยากรที่ดินถือเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักในการดำรงชีพของมนุษย์เป็นเวลายาว นานนับแต่อดีต พื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ไม่เหมาะสมตามศักยภาพ และขาดการจัดการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง

         สถานการณ์ ปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้มีการแข่งขันเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาที่ดินเพื่อไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงก ว่า เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้มวลรวมของผลิตผลทางการเกษตรลดลง ขณะเดียวกันก็เพิ่มปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากสภาพธรรมชาติถูกทำลาย โดยการถมพื้นที่ หรือเกิดการปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีในการผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต เป็นต้น นอกจากนี้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ชี้ให้เห็นว่าภาคการเกษตรซึ่งถือเป็นภาคการผลิตที่แท้จริง สามารถจะกู้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ดี ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการรักษาพื้นที่การเกษตรให้สามารถเป็นแหล่งผลิต อาหารและรายได้ที่มั่นคงของประเทศ จึงได้จัดทำข้อเสนอในการดำเนินโครงการการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อการ กำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบขึ้น

วัตถุประสงค์โครงการ
  1. เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินและที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นแบบ
  2. เพื่อคุ้มครองพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นแบบ
  3. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรดินและที่ดินและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
    โดยมุ่งให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุดตามสมรรถนะที่ดินในพื้นที่ต้นแบบ
  4. เพื่อประยุกต์ผลการศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายด้านการจัดการเชิงพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตร
    ในภาพรวมของประเทศให้สามารถนำไปปฏิบัติได้
ขอบเขตการดำเนินงาน
  • พื้นที่ต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ และพื้นที่บริเวณเขตสงวนและรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
  • แปลข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Landuse) โดยทำการปรับปรุงประเภทของการจำแนกให้มีความเหมาะสมและ เป็นข้อมูลที่ทันสมัยโดยใช้มาตรฐาน
    ของกรมพัฒนาที่ดินเป็นข้อมูลอ้างอิง ซึ่งมีรายละเอียดการจำแนกข้อมูลในระดับภาพรวมของประเทศ (ระดับที่ 2) ในพื้นที่ต้นแบบ
ขั้นตอนการดำเนินงาน





ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

  • ระบบฐานข้อมูลพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นแบบที่สามารถใช้ เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านการจัดการเชิงพื้นที่ในภาพรวมอันจะนำไปสู่ การปฏิบัติเพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการใช้ประโยชน์พื้นที่ ตามสมรรถนะ
  • มาตรการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรมในภาพรวมของพื้นที่ต้นแบบตามหลักวิชาการ
  • แนวนโยบายด้านการจัดการเชิงพื้นที่ในการกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางการเกษตรในภาพรวมให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ

รายงานประกอบโครงการ :