×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
โครงการการพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย


โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

บทนำ
              กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานระดับกรมที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อการจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ โดยมีภารกิจในการจัดทำแผนแม่บท วางมาตรการ ส่งเสริม สนับสนุนการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูหลังเกิดภัย และติดตามประเมินผลเพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการที่หน่วยงานจะสามารถเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประสิทธิภาพระบบป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้มีความปลอดภัยและไม่ได้รับความสูญ เสียด้านชีวิตและทรัพย์สินที่สืบเนื่องจากสาธารณะภัยนั้น ย่อมต้องการการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางหน่วยงานจะต้องมีระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการตัดสินใจด้านสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้องสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ทันที ทั้งในด้านการป้องกัน การเตือนภัย และการบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการฟื้นฟู เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง ซึ่งจะสามารถลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากพิบัติภัยในรูป แบบต่างๆ ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ปัจจุบัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังไม่มีการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศทางด้านสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่จะทำการพัฒนาขึ้น ทั้งการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS Database) การพัฒนาระบบวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Application) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และประมวลฐานข้อมูลทางด้านสาธารณภัยที่พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะการออกแบบระบบนำเข้า แก้ไข และปรับปรุง เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ และเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูล เชิงพื้นที่ (Spatial Data) เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา ผลการดำเนินงาน รวมถึงทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเป็นพลวัต โดยการนำข้อมูลหลากหลายประเภทมาซ้อนทับกัน ทั้งข้อมูลในเชิงอุปสงค์ (Demand) เช่น สภาพปัญหา ความรุนแรงของพิบัติภัย เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย น้ำท่วม - ดินถล่ม ภัยจากสารเคมี ฯลฯ และข้อมูลในเชิงอุปทาน (Supply) เช่น หน่วยงาน กำลังคน เครื่องมือในการปฏิบัติงาน รวมถึงงบประมาณในแต่ละพื้นที่ ทำให้หน่วยงานส่วนกลาง สามารถวางแผนในการบริหารและการตัดสินใจในการตอบสนองต่อภารกิจในความรับผิด ชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบเขตการดำเนินงาน :

  • ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลของพื้นที่เกิดภัยแล้ง และวาตภัย
  • ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลของพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
  • ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลของพื้นที่เสี่ยงภัยทางด้านหน่วยช่วยเหลือ
  • ออกแบบและพัฒนาระบบนำเข้าข้อมูล
  • ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพ (Physical data)
  • ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลพื้นฐานทางด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม (Socio - Economics)
  • ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจในการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย
  • ฝึกอบรมบุคลากร (Training) ให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น



วงจรการบริหารจัดการพิบัติภัยอย่างยั่งยืน
(Sustainable Crisis Management Cycle)


ผลลัพธ์ของการดำเนินงานของโครงการ :

  • เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการพื้นทีเสี่ยงภัย จากระบบข้อมูลทางด้านพื้นที่เสี่ยงภัยและข้อมูลเชิงพื้นที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ครบถ้วน สมบูรณ์ไม่ซ้ำซ้อน และเป็นระบบที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความสูญเสียทางด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากพิบัติภัย
  • ประยุกต์ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยและผลการปฏิบัติงาน เชิงพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การวางแผนและการตัดสินใจ รวมถึงการกำหนดนโยบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของหน่วยงานตั้งแต่ระดับ จังหวัดและหน่วยงานส่วนกลางอย่างสอดคล้องและบูรณาการร่วมกันอย่างยั่งยืนและ เป็นพลวัต
  • บูรณาการของผลการวิเคราะห์นโยบายและผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ที่สอดคล้อง (Synchronize) อย่างเป็นพลวัต ระหว่างหน่วยงานในระดับปฏิบัติการและหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุน ดูแลและกำกับเชิงนโยบายตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงส่วนกลางได้อย่างเกิด ประสิทธิผลและเป็นการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
  • พัฒนาบุคลากรทั้งในระดับผู้กำหนดนโยบาย ผู้วิเคราะห์นโยบายและผู้ปฏิบัติ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการ ปฏิบัติงาน การวางแผนและการตัดสินใจร่วมกันทั้งระบบที่ยั่งยืนและเป็นพลวัต ที่สามารถทำให้ประสิทธิผลที่ดีขึ้นต่อการปฏิบัติงานในอนาคต


ผังแสดงการเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์


  เอกสารประกอบการอบรม ระบบสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจ ในการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย