โครงการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่นเพื่อการบริหารในพื้นที่ภาคกลาง
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th
บทนำ
การ สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกส่วนของสังคม นับเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีความสำคัญอย่าง ยิ่งยวด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประเทศ ในอันที่จะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้มีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองได้และก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่
การ นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ซึ่งเป็นกระบวนการทางเทคนิคหรือวิชาการสมัยใหม่ที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้รวบรวม จัดเก็บ และการจัดการเชิงพื้นที่ ซึ่งสามารถระบุถึงตำแหน่งหรือสถานที่ในภาคพื้นดินได้อย่างถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลทางด้านทรัพยากร (Resource Mapping) ตลอดจน วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะและความชำนาญการของคนในชุมชน (Skill Mapping) ล้วนมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผน และการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และก่อให้เกิดการปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
ทบวงมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ประสานงาน และดำเนินโครงการการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการบริหารในบริเวณพื้นที่ภาคกลาง 11 จังหวัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภาคกลางอีก 3 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่าง ๆ ทั้งข้อมูลทางด้านทรัพยากรและข้อมูลด้านวิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะและความชำนาญของคนในชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ศึกษา เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวางแผนการจัดการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพใน การบริหารของภาครัฐ ภาค เอกชน และภาคประชาชน ซึ่งจะยังผลให้เศรษฐกิจระดับรากฐานมีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อรวบรวมและจัดทำระบบฐานข้อมูลทางทรัพยากรธรรมชาติและโครงสร้างพื้นฐาน (Resource Mapping)
- จัดทำระบบฐานข้อมูลทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ทำการเผยแพร่ระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นผ่านทางระบบเครือข่ายแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่ สนใจและประชาชนทั่วไป
ขอบเขตพื้นที่ศึกษาได้ถูกกำหนดให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง 11 จังหวัด คือ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร (ดังรูป)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กระบวน การดำเนินงานในแต่ละโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการพัฒนาชุมและท้องถิ่นเพื่อ การบริหาร ในเขตพื้นที่ศึกษาภาคกลาง ทีมวิจัยได้แบ่งกรอบการดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
-
การพัฒนาฐานข้อมูลตามมาตรฐานการออกแบบจากฐานข้อมูลส่วนกลางจากคณะกรรมการกลางของมหาวิทยาลัยต่างๆ
- การจัดสร้างฐานข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานต่างๆ รับมอบหมายดำเนินการโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- การแปลความหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลดาวเทียม เทียม Landsat 7 ระบบ ETM+ รับมอบหมายดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- การสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บรวบรวมจัดสร้างฐานข้อมูลวิถีชีวิต ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะและความชำนาญการ (Skill Mapping) รับมอบหมายดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูล รับมอบหมายดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
- การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนเพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรม
- การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้
- การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูลเพื่อจัดทำแนวทางในการจัดการปัญหาน้ำท่วม
- การประยุกต์ใช้งานฐานข้อมูล Skill Mapping ร่วมกับ Resource Mapping
- การฝึกอบรมเพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนา ซึ่งจะสามารถข้อมูลมาใช้ประกอบในการวางแผนเชิงนโยบายในระดับต่างๆทั้งระดับ จังหวัด ตำบลและในชุมชนต่างๆ
- รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
- รายงานฉบับสมบูรณ์