×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

หลักการและเหตุผล
            จาก โครงการจัดทำดัชนีชี้วัดและสำรวจความคิดเห็นเชิงพื้นที่ของประชาชน ที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งได้ทำการจัดทำดัชนี ชี้วัดและทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเชิงพื้นที่ในความรู้สึกพึงพอใจใน ด้านความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสำรวจข้อมูลผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทำการวิเคราะห์และประเมินผลร่วมกับระบบข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความพึงพอใจของประชาชน รวมถึงทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเป็นพลวัต โดยเฉพาะการเพิ่มมุมมองในการรับรู้สภาพปัญหา และสภาพพื้นที่รับผิดชอบ โดยการนำข้อมูลหลากหลายประเภทมาทับซ้อนกัน ทั้งข้อมูลในเชิงอุปสงค์ เช่น สภาพปัญหา ความรุนแรงของอาชญากรรม และอุปทาน เช่น หน่วยงาน กำลังพล รวมถึงงบประมาณในแต่ละพื้นที่ ทำให้หน่วยงานส่วนกลาง (สนง.ผบ.ตร) สามารถวางแผนในการบริหารและการตัดสินใจในการตอบสนองต่อภารกิจที่ได้รับมอบ หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังขาดกระบวนการที่เป็นรูปธรรมในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานที่ สามารถเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดทั้งในส่วนขององค์กรเอง ซึ่งจะทำให้สามารถปรับปรุงรูปแบบการทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิผลได้อย่างสอด คล้องตามสภาพปัญหา ความจำเป็นของพื้นที่ และนโยบายของรัฐบาล

                จากความจำเป็นในการพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้หน่วยปฏิบัติในระดับ บช. /ภาค ภ.จว. /บก. (ทั่วประเทศ) รวมถึง สน. และ สภ.อ. (ในพื้นที่ต้นแบบ) สามารถตอบสนองต่อภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงแนวนโยบายจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะการยกระดับองค์กรตามนโยบายของรัฐบาล ที่เน้นการกระจายอำนาจลงสู่พื้นที่ และการทำงานร่วมกับผู้ว่า CEO ทำให้มีความจำเป็นในการตอบสนองต่อภารกิจดังกล่าวตามแนวนโยบาย ซึ่งต้องทำการพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผล ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติสามารถทำการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นพลวัตและยั่งยืน

วัตถุประสงค์โครงการ
  1. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้กับหน่วยปฏิบัติในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนากระบวนการในการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผล ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  3. เพื่อศึกษา ออกแบบ และพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัด ให้กับหน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหารของหน่วยงาน ในการประเมินผลงาน ติดตามงาน และปรับการวางแผนงานตามผลการรายงานของดัชนีชี้วัดได้อย่างเป็นพลวัตและ ยั่งยืน
  4. เพื่อศึกษา ออกแบบ และพัฒนารูปแบบการนำเสนอการประเมินผลงานจากดัชนีชี้วัดที่พัฒนาขึ้นของสำนัก งานตำรวจแห่งชาติ ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
  5. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัดของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในการบริหารและการตัดสินใจของผู้บริหารในหน่วยงานของตนเอง และรายงานเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตการดำเนินงาน
  1. การพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผล ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งกรอบการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
    • การพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัด ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    • การพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัด ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
    • การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผล ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่พัฒนาขึ้น
  2. การพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผล ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถแบ่งระดับของการพัฒนา ออกได้เป็น 2 ระดับ
    • หน่วยงานทั่วไป ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งสิ้น 95 หน่วยงาน
    • หน่วยงานในพื้นที่ต้นแบบ ประกอบด้วย หน่วยงานทั้งสิ้น 91 หน่วยงาน
  3. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินผล ดัชนีชี้วัด ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในการบริหารและการตัดสินใจของผู้บริหารในหน่วยงานของตนเอง และรายงานเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยการ ฝึกอบรมบุคลากรใน 5 ระดับ
    • การฝึกอบรมระดับผู้บัญชาการ
    • การฝึกอบรมระดับผู้บังคับการ
    • การฝึกอบรมระดับปฏิบัติการในระดับ บก. และ ภ.จว.
    • การฝึกอบรมระดับปฏิบัติการในพื้นที่ต้นแบบ
    • การฝึกอบรมระดับผู้ดูแลระบบ (Administrator)


ตัวอย่างหน้าจอการเรียกใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
 

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
  1. ดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  2. กระบวนการในการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  3. การพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัด ให้กับหน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหารของหน่วยงาน ในการประเมินผลงาน ติดตามงาน และปรับการวางแผนงานตามผลการรายงานของดัชนีชี้วัดได้อย่างเป็นพลวัตและ ยั่งยืน
  4. การพัฒนารูปแบบการนำเสนอการประเมินผลงานจากดัชนีชี้วัดที่พัฒนาขึ้น ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
  5. การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินผลดัชนีชี้วัด ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อใช้ในการบริหาร การวางแผนและการตัดสินใจของผู้บริหารในหน่วยงานของตนเอง และรายงานเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทั้งระบบที่ยั่งยืนและ เป็นพลวัตที่สามารถทำให้ประสิทธิผลที่ดีขึ้นต่อการปฏิบัติงานในอนาคต