Zoom image
ชื่อหนังสือ ระบบสารสนเทศภูมิศาตร์ ในการบริหารภาครัฐ ( GIS in Government )
แต่งโดย :   ศาสตราจารย ์ดร.วรเดช จันทรศร  และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ISBN 974-13-1645-3
หาซื้อได้ที่ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยที่ผ่านมาได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้องในการวิเคราะห์และวิจัย เพื่อการกำหนดนโยบายและแผนงานของประเทศน้อยมากซึ่งทำให้ข้อเสนอต่าง ๆ ทางด้านการบริหารภาครัฐและการกำหนดนโยบาย ไม่สามารถนำไปสู่แผนงานในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับ ประสิทธิผลเท่าที่ควร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ ที่มีศักยภาพมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในปัจจุบันนานาอารยะประเทศ ได้เริ่มนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารภาครัฐอย่างแพร่หลาย

หนังสือเล่มนี้ จะนำท่านเข้าสู่โลกของการบริหารภาครัฐยุคใหม่ ที่เสนอแนวคิดของการกระจายทรัพยากรและการจัดการโครงสร้างภาครัฐที่ฐานล่าง ที่ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) สภาพข้อเท็จจริงตามความต้องการของประชาชน และสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการพิจารณาและการบูรณาการ (Integration) ภูมิสารสนเทศ (Geo-informatics) ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ให้องค์กรภาครัฐสามารถเข้าถึง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งทำการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐลงสู่พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิผล อย่างเป็นพลวัต (Dynamic) ซึ่งนับเป็น มิติใหม่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และภูมิสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการไทย (GIS in Government)
รายละเอียดของเนื้อหา

ภาคที่ 1: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการบริหารภาครัฐ
  • บทที่ 1 บทนำ
  • บทที่ 2 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) คืออะไร
  • บทที่ 3 เมื่อใดที่ต้องใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • บทที่ 4 พัฒนาการความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทางด้านเทคโนโลยี ทางด้านการบริหาร และการกำหนดนโยบาย
  • บทที่ 5 ประโยชน์ ประสิทธิผล และรูปแบบองค์กรของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารงานส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ
ภาคที่ 2: การพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการปรับปรุงการบริหารราชการไทย ( GIS in Government )
  • บทที่ 6 ปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย
  • บทที่ 7 แนวทางในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาใช้ในการบริหาร ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย
  • บทที่ 8 ข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการบริหารราชการไทย
  • บทที่ 9 ก้าวต่อไปด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการบริหารราชการไทย
สนใจ ! ขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งจองได้ที่ โทรศัพท์ 0-2214-0610 หรือ e-mail : webmaster@gisthai.org