×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

บทคัดย่อ
เขาเจ้าลาย หรือเขานางพันธุรัต หรือเขานางนอน ตั้งอยู่ ณ อำเภอชะอำ ตำบลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นภูเขาหินปูนและหินดินดาน ลักษณะของภูเขาคล้ายกับภาพผู้หญิงนอน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกขานว่า เขานางนอน หรือเขานางพันธุรัต ด้านศรีษะของภาพผู้หญิงมีแท่งหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ลักษณะเป็นแท่งหินแยกตัวออกจากเทือกเขา เรียกว่า เขาโกศนางพันธุรัต เป็นจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะเป็นจุดสังเกต (Land Mark) ให้ผู้ที่เดินเรืออยู่บริเวณใกล้เคียง โดยเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2537 เขาโกศนางพันธุรัตได้เกิดการพังทลายลงมาเป็นเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ทำให้ทัศนียภาพบริเวณเขาถล่มไม่เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่งดงาม ประกอบกับ เมื่อปี พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้แม่ทัพภาคที่ 1 ดำเนินการฟื้นฟูบริเวณที่เกิดการถล่มของภูเขาเจ้าลายใหญ่ (เขานางพันธุรัต) พื้นที่ใกล้เคียงและอนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขาเจ้าลายใหญ่ไว้เป็นมรดกของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงตำนานที่ได้เล่าขานสืบต่อกันมาเกี่ยวกับนางพันธุ รัตในวรรณคดีไทย เรื่องสังข์ทอง และนอกจากนี้ยังพบปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูควบคู่กันไป คือ ปัญหา ทัศนียภาพจากการทำเหมือง ของบริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงโม่หินวาสุกรี ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านชุมชนใกล้เคียง
ขอบ เขตการศึกษาจะครอบคลุมพื้นที่เขาเจ้าลายใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียง ในรัศมีประมาณ 2 กิโลเมตร ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ เขามันหมู และเขาถ้ำโหว่ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) กำลังดำเนินการทำเหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และเขาตกน้ำ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงโม่หินวาสุกรี กำลังดำเนินการทำเหมืองหิน อุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
ใน การศึกษาได้ทำการสำรวจพื้นที่บริเวณวนอุทยานเขานางพันธุรัตและเขาตกน้ำโดย รอบ พร้อมทั้งได้ประสานแผนการสำรวจของ บริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) และนำข้อมูลต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นและจัดทำแนวความคิดเบื้องต้นในการแก้ไข และฟื้นฟูพื้นที่โครงการ เพื่อให้ได้แผนแม่บทการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่โครงการเขานางพันธุรัต และเขาตกน้ำ ซึ่งแผนแม่บทประกอบด้วย การใช้พื้นที่ การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ การกำหนดหน่วยงานและขอบเขตความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนแม่บท พร้อมทั้งระยะเวลา วิธีการ และประเมินด้านงบประมาณค่าใช้จ่าย การเสนอแนะมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียง และการกำหนดแผนการดูแล บำรุงรักษาและพัฒนาพื้นที่ สาระสำคัญของแผนแม่บท คือการฟื้นฟูเขาเจ้าลายใหญ่โดยให้คงอยู่ในสภาพเดิมหรือใกล้เคียงที่เป็นอยู่ ก่อนเกิดการถล่ม และ การฟื้นฟูเขาเจ้าลายใหญ่โดยใช้วิธีธรรมชาติ

โครงการจัดทำแผนอนุรักษ์และฟื้นฟูเขาเจ้าลาย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ให้กับกรมทรัพยากรธรณี ( 2542-2543 )
Zoom Image Zoom Image
ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศในสภาพดั้งเดิมและสภาพปัจจุบัน เขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน
Zoom Image Zoom Image
ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศ 3 มิติของเขานางพันธุรัต สภาพพื้นที่ และแบบจำลองการเกิดหินถล่ม