การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยง
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk assessment in Thailand: Pasak river basin approach |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการและเหตุผล ประเทศไทยได้เผชิญกับความเสียหาย จากภัยพิบัติตามธรรมชาติอยู่เกือบทุกปี (โดยเฉพาะ ภัยพิบัติจากน้ำท่วมในที่ราบลุ่ม น้ำท่วมฉับพลัน และจากดินถล่มในบริเวณที่สูงลาดชัน) การเกิด น้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำต่างๆ ของประเทศ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ตามสภาวะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมของโลก ที่มีความแปรปรวนและมีความซับซ้อนที่ส่งผลกระทบถึงกันมากขึ้นเป็นลำดับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นคงจะไม่ได้เกิดเฉพาะกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งสาธารณูปโภคของรัฐเท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่เกี่ยวพันเป็นลูกโซ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะด้านการเกษตรกรรมและด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง การจัดการปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการมีปริมาณฝนตกมากผิดปกติ จากพายุหรือมรสุมฤดูร้อนที่เกิดตามธรรมชาตินั้น เราคงไม่สามารถจะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน แต่จะทำอย่างไรให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นน้อยที่สุด การบริหารจัดการลุ่มน้ำต่างๆ ของประเทศที่มีปัญหาจากน้ำท่วมจนถึงการเกิดดินถล่มนั้น สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียม (RS) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพอย่างมากต่อการจัดทำฐานข้อมูล การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การคาดการณ์ และจัดทำแบบจำลองในการบริหารจัดการกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มที่มี สภาพน้ำท่วมเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำแบบจำลองทางภูมิประเทศให้เป็นใน ภาพกว้างทั้งเชิงสองมิติ และสามมิติ (Digital Elevation Model: DEM) ซึ่งเมื่อนำกรอบแนวคิดทางทฤษฏีพื้นฐานในเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการน้ำท่วม มาเป็นหลักการในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำแบบจำลองที่สามารถกำหนดข้อจำกัดและทางเลือกแบบต่างๆเพื่อเตรียมการ ป้องกันและเตือนภัย ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาข้อจำกัดในการบูรณาการข้ามศาสตร์ ระหว่างอุตุนิยมวิทยา อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิสารสนเทศ และการบริหารจัดการในภาพกว้าง ให้เป็นระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ร่วมกัน ที่เป็นรูปธรรมและเป็นพลวัต ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์และเวลา ในลักษณะการจัดการเชิงรุกที่มีเอกภาพ มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องเป็นเครือข่าย อันจะส่งผลโดยรวมทำให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องนั่นเอง การ จัดทำระบบบริหารจัดการความเสี่ยงจากน้ำท่วมเพื่อใช้ในการบริหารจัดการภัย พิบัติที่เกิดจากน้ำท่วมในประเทศไทยในครั้งนี้ ได้ใช้กรอบแนวคิดในเชิงสังเคราะห์ และแนวคิดในเชิงประยุกต์ดังกล่าวข้างต้น มาทดลองในพื้นที่ต้นแบบบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตามหลักวิชาการที่ต้องการจัดทำขึ้นตามความสนใจของทีมวิจัย GISTHAI กับปัญหาวิกฤติจากน้ำท่วมในขณะนี้ เพื่อทดสอบแนวคิดดังกล่าวข้างต้นโดยทดลองทำจริง ก่อนที่จะเสนอกรอบแนวคิดดังกล่าวนี้ ให้ขยายผลต่อไปทั้งในพื้นที่ศึกษาต้นแบบและในลุ่มน้ำหลักอื่นๆของประเทศ โดย ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยขั้นต้นนี้รวม 2 สัปดาห์ ( ระหว่างวันที่ 11-25 กันยายน 2545)
|
- Details
- Category: การประยุกต์ระบบ GIS และ Remote Sensing เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมในประเทศไทย กรณีศึกษา : ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- Hits: 1413