การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยง
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk
assessment in Thailand: Pasak river basin approach
 
 
วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อประยุกต์ใช้ GIS และ RS เป็นเครื่องมือในการจัดทำแบบจำลองวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจาก น้ำท่วมเพื่อใช้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ต้นแบบบริเวณลุ่มแม่น้ำ ป่าสัก
1.1 เพื่อจัดทำแผนที่ลักษณะภูมิประเทศ Digital Elevation Model (DEM) ของพื้นที่ศึกษา
1.2 เพื่อจัดทำแผนที่น้ำท่วมของพื้นที่ศึกษา โดยใช้แผนที่ลักษณะภูมิประเทศ DEM อ้างอิงกับค่าระดับความสูงของน้ำ (Water Level) ณ จุดตรวจวัดระดับน้ำ (Guage Station) ของกรมชลประทาน ในช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วม 2 วัน (วันที่ 10 และ17 กันยายน 2545) และเปรียบเทียบกับแผนที่น้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา ที่วิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม (ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
1.3 เพื่อคำนวณค่าเฉลี่ยของพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม (Flood Hazard Area) ทั้งระดับความสูง และปริมาตรของน้ำในพื้นที่ศึกษาในช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วม (วันที่ 10 และ17 กันยายน 2545)
1.4 เพื่อประเมินพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจากน้ำท่วม (Flood Risk Area) ในพื้นที่ศึกษาในช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วม(วันที่ 10 และ17 กันยายน 2545)
1.5 เพื่อสร้างแบบจำลองแสดงพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม และพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจากน้ำท่วม โดยสมมุติในกรณี ถ้า...แล้ว (What if) เมื่อระดับน้ำเพิ่มขึ้น ณ จุดตรวจวัดระดับน้ำในตำแหน่งที่แตกต่างกัน

2. เพื่อนำเสนอแนวคิดเชิงวิเคราะห์ และแนวคิดเชิงประยุกต์ในการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ ท่วมในประเทศไทย จากผลการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อนำไปสู่ประสิทธิผลทางปฏิบัติในการประเมิน ความเสี่ยงจากน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษาและในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักอื่นๆของประเทศ ไทย)