การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยง
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk
assessment in Thailand: Pasak river basin approach
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk
assessment in Thailand: Pasak river basin approach
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวคิดในเชิงสังเคราะห์และแนวคิดในเชิง ประยุกต์ เกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำท่วมในประเทศไทย ที่ใช้กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสักเป็นต้นแบบ เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง การคาดการณ์ และการเตือนภัยในเชิงรุก เพื่อการเตรียมการป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วม และเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับสภาพน้ำท่วม เพื่อลดหรือบรรเทาผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยจัดทำเป็นต้นแบบของระบบบริหารจัดการที่ใช้ทฤษฏีขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง มาเป็นกรอบในการทดลอง และประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) และเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียม (Remote Sensing Technology: RS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ มาทำการวิเคราะห์และประมวลผล จัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ในหลายรูปแบบขึ้น จากสารสนเทศเชิงพื้นที่ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและเป็นพลวัต เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหลายที่รับผิดชอบอยู่กับการจัดการน้ำท่วม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ได้อย่างทัน การณ์ เพื่อเสริมการปฏิบัติงานที่กระทำอยู่ ในด้านการ เฝ้าระวัง การเตือนภัยก่อนการเกิดน้ำท่วม การช่วยเหลือในสภาวะฉุกเฉินขณะเกิดน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม ได้อย่างเป็นเอกภาพ มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง และมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ที่จะทำให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นในการจัดการปัญหาน้ำท่วมในเชิงรุกในแต่ละ พื้นที่ ลุ่มน้ำของประเทศ ได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
รายละเอียดโครงการ :
- หลักการและเหตุผล
- วัตถุประสงค์ของโครงการ
- ขั้นตอนการจัดทำแบบจำลองวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม
- สรุปสถานะสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการน้ำท่วมของหน่วยงานภาครัฐ และข้อเสนอแนะแนวคิดเชิงวิเคราะห์
- ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม สำหรับ Flood way ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง
- ภาคผนวกแผนที่