ภูมิศาสตร์เชิงระบบกับการจัดการชายฝั่งอย่างบูรณาการในประเทศไทย

โดย   สมบัติ อยู่เมือง1,2 และศุภิชัย ตั้งใจตรง 3
1 ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 , e - mail : sombat@gisthai.org
2 ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย (www.gisthai.org)
3 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330

บทนำ
บทความนี้จะ นำเสนอแนวทางในการใช้ภูมิศาสตร์เชิงระบบ (systematic geography) มาช่วยการจัดการชายฝั่งอย่างบูรณาการ (integrated coastal zone management : ICZM) โดยจะบรรยายถึงเครื่องมือสำคัญของภูมิศาสตร์เชิงระบบ อันประกอบด้วย การสร้างแผนที่ ระบบสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ (GIS) การสำรวจจากระยะไกล หรือรีโมทเซนซิง การจำลองทางคณิตศาสตร์และทางสถิติ ท้ายที่สุด บทความจะเสนอขั้นตอนเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการชายฝั่งอย่างบูรณาการใน ประเทศไทย

การทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมชายฝั่งด้วยภูมิศาสตร์เชิงระบบ
ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นการศึกษาถึงลักษณะและความสัมพันธ์อย่างมีวิวัฒนาการของผิวโลก ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (regional geography) เน้นศึกษาเพื่อจำแนกเอกลักษณ์ของภูมิภาคต่างๆ ในขณะที่ภูมิศาสตร์เชิงระบบ (systematic geography) เน้นศึกษากระบวนการซึ่งทำให้บริเวณต่างๆ บนโลกมีความแตกต่างกันทั้งในมิติของเวลา และมิติของพื้นที่ (รูปที่ 1)



รูปที่ 1 สาขาต่างๆ ของภูมิศาสตร์เชิงระบบ (Strahler, A. และ A. Strahler, 2003)


ภายใต้กรอบของภูมิศาสตร์เชิงระบบ ภูมิศาสตร์มนุษย์ (human geography) เป็นการศึกษาที่อาศัยกระบวนการทางสังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรม ในการจำแนกสถานที่ต่างๆ ส่วนภูมิศาสตร์กายภาพ (physical geography) พิจารณากระบวนการธรรมชาติบนผิวโลกที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่เอื้อต่อกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ภูมิอากาศวิทยา (climatology) เป็นศาสตร์ที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงความร้อนและความชื้นของผิวโลกโดยเฉพาะ บริเวณเหนือแผ่นดิน ธรณีสัณฐานวิทยา (geomorphology) เป็นศาสตร์ว่าด้วยกระบวนการและรูปลักษณะของผิวโลก ภูมิศาสตร์ของทะเลและชายฝั่ง (coastal and marine geography) รวมการศึกษากระบวนการทางธรณีสัณฐานที่กำหนดรูปทรงของชายฝั่งเข้ากับการประ ยุกต์ใช้ศาสตร์ในการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง ภูมิศาสตร์ของดิน (geography of soils) ศึกษาลักษณะการกระจายตัวของดินชนิดต่างๆ ตลอดจนคุณสมบัติและกระบวนการในการก่อตัวขึ้นของดินชนิดต่างๆ ชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) เป็นการศึกษารูปแบบการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตที่สเกลเวลาและพื้นที่ต่างๆ กัน รวมถึงการศึกษากลไกที่ก่อให้เกิดการกระจายตัวดังกล่าว การประเมินทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติ (water resources and hazards assessment) เป็นการศึกษาที่บูรณาการความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์เข้าด้วยกัน
เครื่องมือ สำคัญสำหรับการศึกษาภูมิศาสตร์เชิงกายภาพประกอบด้วย การจัดทำแผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รีโมทเซนซิง การจำลองทางคณิตศาสตร์ และทางสถิติ
การจัดทำแผนที่ (cartography) เป็นเรื่องที่อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยแผนที่เป็นการจำลองข้อมูลพื้นที่อันได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้ง การเชื่อมต่อ และอาณาบริเวณ ด้วยจุด เส้น หรือรูปทรงพื้นที่ องค์ประกอบของแผนที่จะแสดงถึงคุณลักษณะบางด้านของพื้นที่ โดยคงลักษณะการวางตัวตามที่ปรากฎบนผิวโลก แต่มีการย่อส่วนลงตามมาตราส่วนของแผนที่
แผนที่จะ คล้ายกับหนังสือในด้านความสามารถที่จะจัดเก็บข้อสนเทศได้ดี แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของการจัดเตรียมและการใช้ที่ต้องการความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ในช่วงสองทศวรรตที่ผ่านมา ความก้าวหน้าในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และแสดงข้อมูล ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information system: GIS) ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่นี้อาศัยความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ในการวิ เคราะห์ จัดการ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก
เครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่คือรีโมทเซนซิง (remote sensing) ซึ่งอาศัยเครื่องบิน หรือยานอวกาศในการบันทึกข้อมูลภาพของผิวโลก ทั้งนี้ความละเอียดของข้อมูล และความครอบคลุมของพื้นที่ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังแยกเชิงพื้นที่ของข้อมูล รีโมทเซนซิง
เครื่องมือสำหรับการศึกษาภูมิศาสตร์เชิงระบบอีกกลุ่มหนึ่งคือ การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical modeling) และการใช้สถิติศาสตร์ (statistics) โดยการใช้คอมพิวเตอร์แก้สมการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการจำลองกระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าใจปรากฎการณ์ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม ของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก ส่วนสถิติศาสตร์ก็ให้เครื่องมือในการดำเนินการกับข้อมูลทำให้เกิดความเชื่อ มั่นในเรื่องของความแตกต่าง แนวโน้ม และรูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่ได้
สเฟียร์ (spheres) สเกล (scales) ระบบ (systems) และ วัฎจักร(cycles) เป็นเสมือนเสาหลักสี่ต้นที่รองรับองค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์กายภาพ โดยในการศึกษาโลก อาจพิจารณาจากสเฟียร์ทั้ง สี่คือ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกภาค (hydrosphere) ธรณีภาค (lithosphere) และชีวภาค (biosphere) (รูปที่ 2) ทั้งนี้กระบวนการที่เกิดขึ้นในสเฟียร์ทั้งสี่นี้อาจเกิดขึ้นภายใต้ระดับหรือสเกลที่ ต่างกัน ได้แก่ การเกิดในระดับโลก (global scale) ระดับทวีป (continental scale) ระดับภูมิภาค (regional scale) ระดับท้องถิ่น (local scale) หรือในระดับปัจเจก (individual scale)



รูปที่ 2 ความทับซ้อนกันของการมองโลกในด้านต่างๆ (Strahler, และ Straher, 2003)


กระบวนการทางกายภาพมักเกิดขึ้นต่อเนื่อง เกี่ยวพันกันหลายกระบวนการอย่างเป็นระบบ แนวคิดในการพิจารณาปัญหาโดยมองกระบวนการเป็นระบบ (system approach) จะเน้นการพิจารณาความเชื่อมโยง และปฏิกิริยาระหว่างกระบวนการต่างๆ ในระบบที่พิจารณา
ระบบธรรมชาติอาจดำเนินการไปเป็นคาบ โดยการเปลี่ยนแปลงจะวนกลับมาซ้ำเดิมเป็นวัฎจักร วัฎจักรที่สำคัญในภูมิศาสตร์กายภาพอาจมีคาบสั้นๆ เป็นชั่วโมง จนถึงคาบที่ยาวนานเป็นล้านปี
ภูมิศาสตร์ กายภาพเน้นความสนใจที่ธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา กระบวนการทางธรรมชาติ และกระบวนการที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ เรือนกระจก เส้นทางการเคลื่อนที่ของคาร์บอนเป็นปัจจัยสำคัญต่อ ปรากฎการณ์นี้ และได้รับความสนใจศึกษาวิจัยเป็นอย่างมาก การรักษาความหลายหลายทางชีวภาพเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจในทั้งฐานะตัวสร้าง เสถียรภาพให้กับระบบนิเวศ และเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับสารชีวภาพที่จะยังประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ กิจกรรมที่ไร้การกำกับดูแลของมนุษย์มักก่อให้เกิดมลภาวะ จนถึงสามารถทำลายสมดุลของสิ่งแวดล้อมโดยตรง ภัยธรรมชาติที่รุนแรงต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เช่นความผันแปรของสภาพอากาศ ที่ก่อให้เกิดวาตภัย และภัยแล้งบ่อยครั้งขึ้นนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของภาวะการณ์โลกร้อนอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์

Zoom image...

รูปที่ 3 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ชายฝั่ง
ตลอดจนเร่งให้ถิ่นที่อยู่และทรัพยากรชายฝั่งเสื่อมโทรมเร็วขึ้น (ปรับปรุงจาก Naish, M. และ S. Warn, 2001)

Zoom image...

รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์และปัญหาของชายฝั่ง (Naish และ Warn, 2001)


Zoom image...

รูปที่ 5 โซนย่อยในเขตชายฝั่ง (โซนที่ 1 รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำ หนอง สันทราย หน้าผา
และยอดผาบริเวณชายฝั่งโซนที่ 2-4 นับรวมทั้งบริเวณเอสทูรี และลากูน) (Naish และ Warn, 2001)


การจัดการชายฝั่งอย่างบูรณาการคืออะไร
การจัดการชาย ฝั่งอย่างบูรณาการ (integrated coastal zone management - ICZM) เป็นกระบวนการจัดการให้บริเวณชายฝั่งมีความยั่งยืน โดยครอบคลุมการจัดการหลายมิติ เป็นพลวัต และมีวิวัฒนาการ วงจรของกระบวนการจัดการนี้ครอบคลุมตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ประเด็นปัญหา การวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการ และการติดตามประเมินผล การจัดการจะรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย และเปิดให้มีโอกาสเข้าร่วมในการจัดการทั้งกระบวน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายร่วมทางสังคม จนถึงการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว การจัดการอย่างบูรณาการมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดสมดุลระหว่างเป้าหมายทาง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการนันทนาการ ภายใต้ขีดจำกัดที่กำหนดโดยพลวัตของธรรมชาติในพื้นที่ การจัดการลักษณะนี้จึงบูรณาการทั้งด้านวัตถุประสงค์ และด้านเทคนิควิธีในการจัดการ บูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ บูรณาการทั้งองค์ประกอบบนบกและในทะเล รวมทั้งการบูรณาการในมิติของเวลาและมิติของพื้นที่

ขั้นตอนเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการชายฝั่งอย่างบูรณาการในประเทศไทย
จากสถานการณ์ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งต่างๆ ของประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการจัดการที่จะ บูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาพื้นที่ และการท่องเที่ยว เพื่อสร้างหลักประกันในปกป้องสิ่งแวดล้อมชายฝั่งให้มีความยั่งยืนในระยะยาว ทิศทางการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่จำเป็นเพื่อให้กระบวน การจัดการชายฝั่งเกิดขึ้นบนข้อเท็จจริงที่สะท้อนถึงเป้าหมายของกลุ่มคนที่มี บทบาท สอดคล้องกับกฎหมาย และดูดซับความร่วมมือจากสถาบันต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการจัดการชายฝั่งทะเลของไทยได้อย่างทั่วถึง โดยผลวิจัยดังกล่าวจะเป็นรากฐานสำหรับพัฒนายุทธศาสตร์ชาติด้านการจัดการชาย ฝั่งได้อย่างเหมาะสมเป็นรูปธรรม
ส่วนราชการ ฝ่ายต่างๆ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันสร้างยุทธศาสตร์การจัดการดัง กล่าว โดยเริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของชายฝั่งให้รอบด้าน และมุ่งให้ได้ผลวิจัยในประเด็นต่อไปนี้
- อธิบายถึงลักษณะของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนทรัพยากรที่ชายฝั่งมี
- ชี้ให้เห็นความแตกต่างของข้อกฎหมายต่างๆ องค์กร ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะมีผลต่อการจัดการ
- วิเคราะห์ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นสัมพันธ์กันอย่างไร มีช่องว่าง ความเหลื่อมซ้อน ตลอดจนผลประโยชน์ร่วมกันอย่างไรบ้าง
ด้วยการดึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในส่วนต่างๆ เข้าร่วมในการศึกษาวิจัย จะทำให้ได้ข้อมูล ข้อสนเทศที่จำเป็นต่อการสร้างกรอบสำหรับพัฒนาการจัดการชายฝั่งที่ยั่งยืนของ ประเทศได้ต่อไป

เอกสารอ้างอิง
Naish, M., and Warn, S 2001. Changing environments (fourth impression). Longman, Edinburgh Gate Harlow, Essex. Strahler, A. and Strahler, A., 2003. Introducing physical geography (third edition). John Wiley&Sons, Inc.
http://www.defra.gov.uk/environment/marine/iczm/pdf/wave_8.pdf