การบรรยายในหัวข้อ "การประยุกต์ใช้จีไอเอส (GIS) และข้อมูลรีโมท เซนซิ่ง (Remote Sensing) เพื่อการประเมินผลกระทบสภาพทางกายภาพและธรณีวิทยาในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติ ภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami) บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย"
ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548


โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org

เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงภัยสำหรับชุมชน

เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงภัยสำหรับชุมชน (Tools of Community Risk Assessment)
เครื่องมือ (Tools) คำอธิบาย (Description)
การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (Review of secondary data) การสะสมข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง จากแหล่งข้อมูลทั้งที่เผยแพร่และไม่เผยแพร่
การสังเกตโดยตรง (Direct observation) การสังเกตอย่างเป็นระบบ (คน ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ เหตุการณ์ กระบวนการ และการบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็น เพื่อให้เห็นภาพของชุมชนที่ดีขึ้นและชัดเจน)
การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกของชุมชน โดยการใช้คำถามที่ยืดหยุ่นในการสัมภาษณ์ การจัดประชุมกลุ่ม (Group Discussions)
การจำลองบทบาทและหน้าที่ (Drama, Role Play and Simulations) การซักซ้อมเหตุการณ์ (Acting out a particular situation)
เครื่องมือในการสร้างไดอะแกรมและสร้างแบบจำลองเพื่อให้เห็นภาพ (Diagramming and Visualization tools) การสร้างแผนที่ ไดอะแกรม เพื่อแสดง วิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ประวัติในอดีตที่ผ่านมา การสร้างแบบจำลอง ปฏิทินฤดูกาล การวิเคราะห์เครือข่ายของสังคมและสถาบัน การวิเคราะห์และจำแนกประกอบอาชีพ โครงสร้างปัญหา ฯลฯ

         (อ้างอิงจาก : Geological Hazards : Their assessment , avoidance and mitigation , Bell ,F.G. , 1999)