การบรรยายในหัวข้อ "การประยุกต์ใช้จีไอเอส (GIS) และข้อมูลรีโมท เซนซิ่ง (Remote Sensing) เพื่อการประเมินผลกระทบสภาพทางกายภาพและธรณีวิทยาในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติ ภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami) บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย"
ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548


โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org

ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมหลักในการจัดการพิบัติภัย

ความสัมพันธ์ระหว่างการวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยและ.องค์ ความรู้ในด้านอื่นๆ .(Interrelationship between risk analysis and all other fields)



(อ้างอิงจาก : Natural Hazard Risk Assessment and Public Policy,William j.Petak and Arthur A.Atkisson,1982)



ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมหลักในการจัดการพิบัติภัย.(Relationship between major activity elements)



(อ้างอิงจาก : Natural Hazard Risk Assessment and Public Policy,William j.Petak and Arthur A.Atkisson,1982)



ข้อมูลที่จำเป็นต่อการลดความสูญเสียจากพิบัติภัยทางธรรมชาติ.(Data require to reduce losses from geohazards)
การหลีกเลี่ยง (Avoidance)
  • พื้นที่ใดที่มีพิบัติภัยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา และพื้นที่ใดที่กำลังเกิดพิบัติภัยขึ้นในปัจจุบัน?
  • พื้นที่ไหนที่คาดการณ์ (Predict) ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต?
  • ความถี่ (Frequency) ของการเกิดพิบัติภัย?
การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use zoning)
  • สาเหตุของการเกิดพิบัติภัยทางกายภาพ (Physical) คือ?
  • ผลกระทบทางกายภาพ (Physical effects) ของพิบัติภัยคือ?
  • ผลกระทบทางกายภาพมีความแตกต่างอย่างไรในพื้นที่ที่เกิดพิบัติภัย
  • การจัดเขตการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ มีผลต่อการลดความสูญเสียของสิ่งก่อสร้างอย่างไร?
การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering design)
  • กระบวนการและเทคนิคในการออกแบบทางวิศวกรรม จะสามารถปรับปรุงความสามารถในการรองรับผลกระทบทางกายภาพของพื้นที่ (Site) และโครงสร้าง (Structure) กับระดับของความเสี่ยงภัย ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ได้หรือไม่
การกระจายตัวของความสูญเสีย (Distribution of losses)
  • ความสูญเสียในรอบปีที่คาดการณ์ไว้กับพื้นที่เสี่ยงภัยคือ?
  • ความสูญเสียที่มากที่สุดของความสูญเสียในรอบปีที่เป็นไปได้คือ?

(อ้างอิงจาก : Geological Hazards : Their assessment , avoidance and mitigation , Bell ,F.G. , 1999)