การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยง
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk assessment in Thailand: Pasak river basin approach |
|
สรุปสถานะสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการน้ำท่วมของหน่วยงานภาครัฐ และข้อเสนอแนะแนวคิดเชิงวิเคราะห์ ใน สภาพปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการจัดการน้ำท่วมของประเทศ มีอยู่หลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน และกรมการปกครอง(สำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) นอกจากนั้น สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) นั้น เริ่มนำเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียมมาช่วยในการรายงานการติดตามสภาพน้ำท่วมใน ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 นี้ด้วยเป็นครั้งแรก ถ้าเปรียบเทียบกับ กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วม ตามหลักการทางวิชาการ ที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งการป้องกัน (Prevent) การเตรียมการ (Preparation) การแก้ไขปัญหาในช่วงวิกฤต (Crisis) และการประเมินความเสียหาย (Assess) หลังเกิดวิกฤติ (Post-Crisis) หน่วยงานทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นมีศักยภาพและสามารถปฏิบัติงานตามกรอบภารกิจ ของตนเอง ให้สอดคล้องตามกระบวนการและขั้นตอนทางวิชาการดังกล่าวข้างต้น ได้อยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสามารถของหน่วยงานเหล่านี้ยังสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น ได้อีกอย่างแน่นอน ถ้ามีการบูรณาการในการบริหารจัดการร่วมกัน อย่างมีระบบและเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน โดยมีกรอบกระบวนการที่แน่นอนในแต่ละช่วงเวลาที่สามารถตอบประสิทธิผลได้อย่าง เป็นรูปธรรม โดยอาศัยและมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) และเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียม (Remote Sensing) มา เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ จัดเก็บ วิเคราะห์และประมวลผลแบบจำลอง จากข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลายที่ต้องใช้ในการจัดการร่วมกันอย่างถาวร ไม่ใช่การทำงานเฉพาะกิจที่แยกส่วนกันปฏิบัติงานอย่างเดิมๆที่เคยปฏิบัติกัน มา ที่มักเป็นนามธรรมและใช้ประสบการณ์มาใช้ในการบริหารและตัดสินใจ แต่ให้ความสำคัญต่อข้อมูลและสารสนเทศเชิงพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆอย่างเป็นลูกโซ่ มาใช้ในการบริหารจัดการเชิงรุกอย่างเป็นพลวัต(Dynamic) น้อยมาก กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นกรมที่สามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาได้เป็นปริมาณน้ำฝนที่สามารถ คาดการณ์ว่าตกลงในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆได้ก่อนล่วงหน้าในช่วงเวลาเป็นราย ชั่วโมง รายวัน ถึงรายอาทิตย์ (จาก Meteorological model ที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยามีอยู่แล้วซึ่งมีศักยภาพในการทำงานที่สูงมาก ที่สามารถใช้จากข้อมูลดาวเทียมทางอุตุนิยมวิทยาเครือข่ายระดับโลกและระดับ ภูมิภาค รวมทั้งการมีข้อมูลของสถานีตรวจอากาศภาคพื้นดินอยู่อีกมากมายทั่วประเทศ มาดำเนินการประมวลผลร่วมกับระบบGIS สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th ) ที่มีความสำคัญมากต่อขั้นตอนของการเตรียมการ (Preparation) ซึ่ง เป็นขั้นตอนหลักของการจัดการที่บ่งบอกก่อนการเกิดน้ำท่วม แต่การรายงานสภาพอากาศในระหว่างเกิดอุทกภัยส่วนใหญ่ ก็มักเป็นการรายงานเชิงข่าวที่เป็นเอกสารที่เป็นรูปธรรมน้อยมาก สำหรับการจัดการในเชิงพื้นที่เฉพาะในแต่ละลุ่มน้ำที่มีความสำคัญอย่างมากต่อ การทำงานร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ของกรมชลประทานในลำดับต่อไป ในส่วนของ กรมชลประทาน ที่มีการจัดทำ ศูนย์เฉพะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แต่การรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในระหว่างเกิดอุทกภัยส่วนใหญ่ ก็มักเป็นการรายงานเชิงข่าวที่เป็นเอกสารที่เป็นนามธรรมเฉพาะความเร็วของน้ำ ในแม่น้ำหรือน้ำที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนเป็นหลักเท่านั้น (และคงไม่ใช้ข้อมูลทั้งหมดที่สาธารณชนควรรู้ ด้วยกระมัง?) การแจ้งถึงปริมาณหรือพื้นที่ที่ชัดเจนตามการคาดการณ์ที่เป็นระบบด้วยแบบ จำลองทางอุทกศาสตร์และอุทกกลศาสตร์นั้น ยังไม่ได้มีการนำเสนอเพื่อการจัดการและรายงานต่อสาธารณชนมากนัก ข้อมูลที่สถานีตรวจวัดน้ำฝนและน้ำท่าในลุ่มน้ำต่างๆของกรมชลประทานที่มีอยู่ มากมายนั้น จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิผลอย่างยิ่ง ในช่วงขั้นตอนของการเตรียมการ(Preparation)และการปฏิบัติการในช่วงวิกฤติ (Crisis) ของการจัดการน้ำท่วมได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างมากเมื่อมาประยุกต์ประมวลผลแบบ จำลองเชื่อมโยงร่วมกันกับ กรมอุตุนิยมวิทยา และประมวลผลร่วมกับความสามารถของเทคโนโลยี GIS และ ภาพจากดาวเทียมที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งได้จัดทำศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจติดตามสภาพน้ำท่วมด้วยภาพจากดาวเทียม ที่ได้รายงานผลพื้นที่ที่เกิดนำท่วมแล้วในภาพกว้าง(ผ่านweb site www.gistda.or.th ของตนเองเป็นหลักอยู่ตลอดเวลาในช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วมของเดือนกันยายนนี้) สำหรับ กรมการปกครอง ที่มี สำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อยู่ และทำหน้าที่หลักในการอำนวยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ก็มี ศูนย์อำนวยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงวิกฤติน้ำท่วม ด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นการดำเนินการในลักษณะการตั้งรับที่ปฏิบัติการหลังจากการ เกิดน้ำท่วมและเกิดความเสียหายแล้วเป็นหลัก การเชื่อมโยงและบูรณาการสารสนเทศเชิงพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง หลายดังกล่าวข้างต้นที่ปฏิบัติงานตั้งแต่การเตรียมการและในระหว่างช่วง วิกฤติ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมได้น้อยมาก นอกจากการช่วยเหลือในสภาวะฉุกเฉินเป็นการเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับขั้นการประเมินความเสียหาย (Assess) หลังเกิดวิกฤติ (Post-Crisis) นั้น ก็นับว่ามีความสำคัญที่จะสามารถใช้ประโยชน์ของบทเรียน ประสบการณ์และข้อจำกัด ที่เป็นสารสนเทศเชิงพื้นที่ซึ่งต้องนำไปประมวลผลเพื่อการป้องกันและการ เตรียมการในระยะยาว การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่มีแกนกลางที่ถาวรและต่อเนื่อง (ไม่ใช่เฉพาะกิจอีกต่อไป) มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการสั่งการและตัดสินใจอย่างมีลำดับต่อเนื่องกัน เชื่อมโยงกัน ทำการประสานงานและบูรณาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานดังกล่าว ข้างต้น ให้สอดคล้องตาม กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วม ดังกล่าวข้างต้น โดยอาศัยและมีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียม มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ จัดเก็บ วิเคราะห์และประมวลผลแบบจำลอง จากข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลายที่ต้องใช้ในการจัดการร่วมกันอย่างถาวร โดยเน้นถึงการป้องกันปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มากกว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งประเทศเรายังไม่มีหน่วยงานหรือการทำงานดังกล่าว ที่อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งหน่วยงานใหม่ แต่ควรใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ที่รัฐควรจะพิจารณาเพิ่มเติมภารกิจ ร่วมไปกับการปรับปรุงภารกิจภาครัฐในการปฏิรูปราชการปัจจุบัน ซึ่งรูปแบการบริหารจัดการดังกล่าวนี้ คงต้องประสานการจัดการร่วมกับการจัดการภัยพิบัติอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยเช่น กัน เช่น ภัยพิบัติจากดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน ด้านภัยแล้ง เป็นต้น โดยเน้น การจัดการที่สามารถบูรณาการภารกิจที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นระบบ ที่ใช้กรอบพื้นที่ของลุ่มน้ำหลักของประเทศ เป็นกรอบแนวคิดในการจัดการอย่างยั่งยืนต่อไป (การศึกษาวิจัยเป็นไปตามหลักวิชาการที่ต้องการจัดทำขึ้นตามความสนใจของทีม วิจัย GISTHAI กับปัญหาวิกฤติจากน้ำท่วมในขณะนี้ เพื่อทดสอบแนวคิดดังกล่าวข้างต้นโดยทดลองทำจริง ก่อนที่จะเสนอกรอบแนวคิดดังกล่าวนี้ ให้ขยายผลต่อไปทั้งในพื้นที่ศึกษาต้นแบบและในลุ่มน้ำหลักอื่นๆของประเทศ โดย ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยขั้นต้นนี้รวม 2 สัปดาห์ ในระหว่างวันที่ 11-25 กันยายน 2545 ที่อยู่ในช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วมในปีนี้ โดยไม่ได้มีงบประมาณสนับสนุนจากโครงศึกษาวิจัยจากหน่วยงานที่ใดเลย) |
- Details
- Category: การประยุกต์ระบบ GIS และ Remote Sensing เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมในประเทศไทย กรณีศึกษา : ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- Hits: 2442