การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยง
จากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก Application of Geographic Information Systems (GIS) and remotely sensed data for flood risk assessment in Thailand: Pasak river basin approach |
|
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม สำหรับ Flood way ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ตามที่ กรมชลประทาน เสนอให้ทำการลงทุนในเชิงการก่อสร้างเชิงวิศวกรรมชลประทาน เสนอให้ทำ Flood way ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เผื่อผันน้ำออกอ่าวไทยให้เร็วขึ้น(ที่บอกแต่ความเร็วของน้ำ แต่ไม่ได้บอกปริมาณของน้ำที่จะระบายออกในช่วงระยะเวลาต่างๆ ที่ใช้ งบประมาณนับ 100,000 ล้านบาท นั้น น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุในเชิงรับที่ลงทุนสูงมาก (และคงได้เป็นอ่างเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในโลกมากกว่าและสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้ ประโยชน์อื่นมากกว่าวัตถุประสงค์ในการระบายน้ำ) เพราะความลาดชันที่มีน้อยมากตั้งแต่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงอ่าวไทย เมื่อ เทียบกับการใช้กรอบแนวคิดเชิงวิเคราะห์และแนวคิดเชิงประยุกต์ที่เพิ่มคุณค่า ของสารสนเทศเชิงพื้นที่ของการเพิ่มศักยภาพและการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และเพิ่มศักยภาพของการบริหารจัดการให้กับหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่ลุ่มน้ำจากภาคเหนือลงมาอย่างเป็นระบบ ดังข้อเสนอแนะในตอนต้น น่าจะเป็นการบริหารจัดการที่ยั่งยืนกว่า ณ เวลานี้ ประเทศ เรายังไม่เคยได้บริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบเลย และที่สำคัญ จะใช้ทรัพยากรด้านงบประมาณน้อยมากชนิดเทียบกันไม่ได้กับการลงทุนทางวิศวกรรม ชลประทาน และถ้าเพิ่มศักยภาพและการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และเพิ่มศักยภาพของการบริหารจัดการให้กับหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวข้างต้น บุคลากรภาครัฐ(ข้าราชการภาครัฐและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง) ต่างหากที่จะเหนื่อยและทำงานมากขึ้นแน่ๆ ซึ่งจะต้องปรับตัวทั้งใน เชิงการบริหาร ด้านวิชาการ และการทำงานในเชิงบูรณาการที่ต้องนำสารสนเทศเชิงพื้นที่มาใช้ประโยชน์อย่างเป็นพลวัตมากขึ้น มากกว่าการลงทุนเชิงกายภาพเป็นหลักเหมือนที่เคยปฏิบัติกันมา ที่ควรจะลงทุนอีกเท่าที่จำเป็นอย่างประหยัดเท่านั้น เราควรจัดการแบบ ไม่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ (Non-destructive) มากนัก เพื่อให้อยู่กับธรรมชาติ(ที่เราคงไม่มีวันเอาชนะได้) ได้อย่างยั่งยืน แต่เราก็สามารถลดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดได้เช่นกัน ถ้าเราเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเป็นเชิงรุกอย่างเป็นระบบที่เป็นพลวัตอย่างต่อ เนื่องในระยะยาว ที่ให้ความสำคัญต่อข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรภาครัฐให้มากขึ้น เสริม การจัดการเชิงรับและการก่อสร้างสิ่งป้องกันเป็นหลัก (Destructive management) ที่ประเทศเรามีมากมายอยู่แล้ว แต่ยังบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าเท่าที่ควรต่างหาก ถ้าจำเป็นต้องสร้างสิ่งป้องกัน ที่รับน้ำ หรือที่ระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ก็สามารถกระทำได้ ถ้ามีความจำเป็นอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงวิชาการและมีความยั่งยืนจริง หลังจากที่ได้ทดลองจัดการในแบบบูรณาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไม่ใช่ใช้วิกฤติการณ์ น้ำท่วมให้เป็นโอกาส ในการเสนอให้ก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เป็นหลักก็แล้วกัน ...ประเทศเรายังมีหนี้ที่ต้องใช้อีกมากมายนัก.... ลองคิดใหม่ทำใหม่... โดยไม่ต้องลงทุนใหม่ (ที่มากมายขนาดนั้น) ดูบ้างเป็นไร... |
- Details
- Category: การประยุกต์ระบบ GIS และ Remote Sensing เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมในประเทศไทย กรณีศึกษา : ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- Hits: 2243