Highlight

Research & Consultancy

Tsunami โศกนาฏกรรมอันดามัน

 
.....อย่าไปตระหนกตกใจกลัวจนเกินเหตุ...จากการให้ข่าวของนัก วิชาการ?จากหน้าตาทางสังคมที่ดูน่าเชื่อถือ?ขยันให้ข่าวสื่อแบบคาดเดาแบบไม่ มีเวลาชัดเจน...จากข่าวที่จะเกิดสึนามิขึ้นอีก (สึนามิที่มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวที่ไม่มีระบบใดบอกได้ล่วงหน้าก่อนการ เกิด) พูดแบบนี้ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ไปอธิบาย..ไม่ใช่ โหราศาสตร์ครับ:-) ....ความรู้ความเข้าใจเชิงพื้นที่จะทำให้เกิดความตระหนัก รู้หลักการ&ถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อม และเตือนอย่างเป็นระบบที่ดีกว่าเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว 9.0 เมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2547 ในทะเลอันดามัน (ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา) ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิต่อแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้านเรา ที่มีเวลาเวลาประมาณ 1.5 ชม. หลังเกิดแผ่นดินไหวก่อนที่คลื่นสึนามิจะถึงชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้าน เรา.....เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยปัญญาของเราได้เพิ่มเติมที่ ...รำลึก 9ปี สึนามิ @ 26 ธันวาคม 2547..ได้ที่
- ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ สำหรับระบบเฝ้าระวัง
  และการจัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต

- การประเมินความเสียหายของพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบจากสึนามิ โดยใช้เทคนิคการ
  ประเมินความแตกต่างของค่า NDVI ของภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat
   ก่อนและหลัง เหตุการณ์ คลื่นยักษ์ Tsunami

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ เขาหลัก จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประยุกต์ใช้ GIS และข้อมูล Remote Sensing เพื่อการประเมินผลกระทบเบื้องต้นทางกายภาพในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami)
Aftershocks of 26 Dec 04 - 27 Mar 05   Aftershocks of 28 Mar 05 - 1 Apr 05   Zoom ...   แผนที่แสดงรอยต่อแผ่นเปลือกโลกและตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดความ รุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2448 - 8 ตุลาคม 2548)
บริเวณทวีปเอเชีย และมหาสมุทรอินเดีย

Aftershocks of
26 Dec 04 - 27 Mar 05
  Aftershocks of
28 Mar 05 - 1 Apr 05
  for more information...

ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พิบัติภัยจาก ดินถล่ม-น้ำปนตะกอนบ่า-น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ

ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation)
 
เครื่องมือตรวจวัด (Sensor) ยานสำรวจ (Platform) ความละเอียด (Resolution) Satellite Applications Show Presentation..
 

ยานสำรวจ (Platform)
เพื่อให้เครื่องมือวัดอยู่ห่างจากสิ่งที่ต้องการสำรวจ จึงมักติดตั้งเครื่องมือวัดไว้ในที่สูง ซึ่งอาจเป็นการติดตั้งเครื่องมือไว้บนเสาสูง ยอดตึก หรือบนภูเขา ซึ่งการติดตั้งในลักษณะนี้จะมีข้อดีคือสามารถตรวจวัดเฝ้าระวังสิ่งที่สนใจ ได้อย่างต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดที่การตรวจวัดจะมีขอบเขตพื้นที่คงที่ตามตำแหน่งที่ติดตั้ง เครื่องมือวัดเท่านั้น การติดตั้งเครื่องมือสำรวจด้วยเทคโนโลยีรีโมทเซนซิงมักติดตั้งบนพาหนะที่ลอย ได้ ซึ่งอาจเป็นบอลลูน เครื่องบินบังคับ เครื่องบินขนาดเล็ก เครื่องบินที่มีพิสัยการบินสูง ยานอวกาศ หรือดาวเทียม
นอกจากดาวเทียมแล้ว ยานสำรวจที่เหลือจะเป็นการบินสำรวจตามภารกิจที่ต้องมีการกำหนดเส้นทางบิน และระดับความสูงการบินเฉพาะ ช่วงเวลาในการสำรวจจะจำกัดตามความจุเชื้อเพลิงของยานพาหนะที่เลือกใช้ ดังนั้นช่วงเวลา และพื้นที่สำรวจมักครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่กำหนดโดยภารกิจการ สำรวจเท่านั้น
ส่วนการใช้ ดาวเทียมเป็นยานสำรวจ จะมีข้อดีคือดาวเทียมอาศัยหลักการสมดุลระหว่างแรงหนีศูนย์กลางและแรงดึงดูด ของโลกมาเป็นตัวรักษาวงโคจรของดาวเทียม (แทนที่จะใช้เชื้อเพลิงมาขับเคลื่อนไม่ให้ยานตกลงสู่พื้นโลก) ดาวเทียมจึงไม่มีข้อจำกัดในด้านความจุเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของ ดาวเทียม และทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกอยู่ได้นานทำให้การสำรวจสามารถครอบคลุม เวลาได้นานเป็นปีๆ และสามารถเลือกพื้นที่ที่จะให้ดาวเทียมบินสำรวจได้ครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยขึ้นอยู่กับวงโคจรที่จะให้ดาวเทียมเคลื่อนที่
จากภาพเป็น การแสดงลักษณะของยานสำรวจชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด ซึ่งมีหลายประเภท นับตั้งแต่ การใช้รถกระเช้าเพื่อถ่ายภาพในที่สูง การใช้บัลลูนเพื่อติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดอากาศ การใช้เครื่องบินในระดับความสูงต่าง ๆ ทำการถ่ายภาพ จนถึงการใช้ดาวเทียมเพื่อทำการสำรวจทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ซึ่งยานสำรวจในลักษณะต่างกัน ย่อมมีขีดความสามารถในการสำรวจที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของข้อมูลที่ทำการตรวจวัด ขอบเขตของพื้นที่ที่สามารถทำการตรวจวัด ตลอดจนลายละเอียดของสิ่งที่ตรวจวัด เป็นต้น การสำรวจด้วยรีโมทเซนชิงมีการใช้วงโคจรของดาวเทียม 2 ลักษณะสำคัญคือ

วงโคจรแบบค้างฟ้า (geostationary orbit)
ดาวเทียมจะ ปรากฏเหมือนอยู่นิ่งเมื่อสัมพัทธ์กับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมโคจรในทิศเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของโลก มีระนาบการโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร และมีความสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร
ตำแหน่งของ ดาวเทียมสัมพัทธ์กับตำแหน่งบนพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมอยู่นิ่งค้างอยู่บน ฟ้าตลอดเวลา จึงเรียกดาวเทียมที่มีลักษณะวงโคจรเช่นนี้ว่า ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary satellite)
ดาวเทียมด้าน อุตุนิยมวิทยาที่ใช้ศึกษา และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโดยดูจากรูปทรงและการเคลื่อนตัวของเมฆ จะใช้วงโคจรลักษณะนี้ ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม GMS ของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นดาวเทียมสื่อสารจำนวนมาก เช่น ดาวเทียมปาลาป้า ดาวเทียมของ StarTV รวมทั้ง ดาวเทียมไทยคม ของบริษัทชินวัตร ก็ใช้วงโคจรแบบ geostationary เช่นกัน




วงโคจรแบบใกล้แกนหมุนของโลก (Near polar orbit)
ระนาบของวง โคจรของดาวเทียมจะอยู่ในทิศใกล้เคียงกับแนวแกนหมุนของโลก โดยดาวเทียมอาจอยู่ที่ระดับความสูงใดก็ได้ที่ความเสียดทานของบรรยากาศมีน้อย จนไม่สามารถทำให้ความเร็วของดาวเทียมลดลง
ดาวเทียม สำรวจส่วนมากจะมีวงโคจรในลักษณะนี้ โดยจะมีการกำหนดระดับความสูง และมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เหมาะสม (โดยมากจะมีความสูงประมาณ 700-1000 กิโลเมตร และมีมุมเอียงประมาณ 95 - 100 องศา จากระนาบศูนย์สูตร) ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม Landsat (สหรัฐอเมริกา) SPOT (ฝรั่งเศส) ADEOS (ญี่ปุ่น) INSAT (อินเดีย) RADARSAT (แคนาดา)
ดาวเทียม เพื่อการสื่อสาร เช่น ดาวเทียมอีริเดียม ใช้วงโคจรในลักษณะนี้ แต่จะมีระนาบวงโคจรที่เอียงออกจากแนวแกนหมุนของโลกมากกว่านี้