Highlight

Research & Consultancy

Tsunami โศกนาฏกรรมอันดามัน

 
.....อย่าไปตระหนกตกใจกลัวจนเกินเหตุ...จากการให้ข่าวของนัก วิชาการ?จากหน้าตาทางสังคมที่ดูน่าเชื่อถือ?ขยันให้ข่าวสื่อแบบคาดเดาแบบไม่ มีเวลาชัดเจน...จากข่าวที่จะเกิดสึนามิขึ้นอีก (สึนามิที่มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวที่ไม่มีระบบใดบอกได้ล่วงหน้าก่อนการ เกิด) พูดแบบนี้ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ไปอธิบาย..ไม่ใช่ โหราศาสตร์ครับ:-) ....ความรู้ความเข้าใจเชิงพื้นที่จะทำให้เกิดความตระหนัก รู้หลักการ&ถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อม และเตือนอย่างเป็นระบบที่ดีกว่าเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว 9.0 เมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2547 ในทะเลอันดามัน (ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา) ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิต่อแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้านเรา ที่มีเวลาเวลาประมาณ 1.5 ชม. หลังเกิดแผ่นดินไหวก่อนที่คลื่นสึนามิจะถึงชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้าน เรา.....เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยปัญญาของเราได้เพิ่มเติมที่ ...รำลึก 9ปี สึนามิ @ 26 ธันวาคม 2547..ได้ที่
- ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ สำหรับระบบเฝ้าระวัง
  และการจัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต

- การประเมินความเสียหายของพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบจากสึนามิ โดยใช้เทคนิคการ
  ประเมินความแตกต่างของค่า NDVI ของภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat
   ก่อนและหลัง เหตุการณ์ คลื่นยักษ์ Tsunami

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ เขาหลัก จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประยุกต์ใช้ GIS และข้อมูล Remote Sensing เพื่อการประเมินผลกระทบเบื้องต้นทางกายภาพในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami)
Aftershocks of 26 Dec 04 - 27 Mar 05   Aftershocks of 28 Mar 05 - 1 Apr 05   Zoom ...   แผนที่แสดงรอยต่อแผ่นเปลือกโลกและตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดความ รุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2448 - 8 ตุลาคม 2548)
บริเวณทวีปเอเชีย และมหาสมุทรอินเดีย

Aftershocks of
26 Dec 04 - 27 Mar 05
  Aftershocks of
28 Mar 05 - 1 Apr 05
  for more information...

ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พิบัติภัยจาก ดินถล่ม-น้ำปนตะกอนบ่า-น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ

ระบบสำรวจหาตำแหน่งพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) ประโยชน์ของระบบสำรวจหาตำแหน่งพื้นโลกด้วยดาวเทียม
 
วิธีการหาพิกัดตำแหน่งโดยใช้ระบบ GPS ขั้นตอนทำงานด้วยระบบดาวเทียม GPS ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งานข้อมูล GPS
 
ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งานข้อมูล GPS

การติดตั้งค่า GPS และการปฏิบัติงาน




  • การตั้งค่าเวลา
  • GPS ทำงานบนเวลาของ UTC (Universal Coordinated Time) หรือเวลาที่เมืองกรีนิช (GMT) เมื่อเราอยู่ในประเทศอื่นที่ไม่ใช่กรีนิช จะต้องมีการกำหนดเวลาท้องถิ่น เช่น เราอยู่ในประเทศไทย ก็จะต้องกำหนดเวลาท้องถิ่นซึ่งเป็น +07.00 Ahead of UTC ที่ตัวเครื่อง GPS
  • การตั้งค่าตำแหน่งพิกัดของค่าคงที่ (Map Datum)
  • Datum คือพื้นผิวอ้างอิงซึ่งเกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีรูปร่างใกล้เคียงกับโลกมาก ความถูกต้องของตำแหน่งพิกัดของค่าคงที่ที่เรียกว่า Map Datum ซึ่งค่าเหล่านี้ มีความแตกต่างกัน สำหรับพื้นที่ ในแต่ละพื้นที่ Map Datum ที่ใช้ในประเทศไทยคือ Indian 1975 หรือ WGS-84 (ที่เป็น Map Datum ใหม่ที่กรมแผนที่ทหารเริ่มนำมาใช้ในปัจจุบัน)
  • การบันทึกตำแหน่ง
  • - บันทึก, แก้ไข และแสดงตำแหน่งที่สำคัญๆ ได้ (Waypoint) - สามารถระบุสัญลักษณ์ว่าตำแหน่งที่บันทึกไว้นั้นเป็นศูนย์อาหาร, ปั๊มน้ำมัน, ที่จอดรถ, แคมป์, บริเวณอันตรายต้องระวังและอื่นๆ - แสดงและบันทึกเส้นทางการเดินทางที่ผ่านมาของเรา (Track Log) - สามารถกำหนดว่าให้บันทึกทุกๆ กี่วินาที หรือนาที หรือชั่วโมงก็ได้ - วางแผนการเดินทางโดยใช้ Route (Route เป็นกำหนดจุดการเดินทาง เช่นจะผ่านจุด A แล้วไป B แล้วไป C และจบที่จุด D โดยเครื่องจะลากเป็นเส้นตรง A-> B-> C-> D-> และจะบอกระยะห่างระหว่างแต่ละจุดด้วย)
การใช้งานกับเครื่องมือ GPS
ปกติ GPS เพียงเครื่องเดียว พร้อมแบตเตอรี่อัลคาไลน์ ก็เพียงพอสำหรับการใช้งานเบื้องต้นได้แล้ว แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และสามารถโหลดข้อมูลเพื่อขึ้นไปเก็บไว้บน PC ได้ ก็ควรจะมีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ดังนี้
  • เปิดใช้ในรถยนต์ขณะเดินทาง ควรมีเสาอากาศภายนอก สายต่อที่จุดบุหรี่ และแท่นติดตั้งในรถยนต์
  • ใช้ต่อกับเครื่อง Notebook ในรถยนต์ ควรมีสารต่อเข้า PC และที่จุดบุหรี่ในตัวเดียวกัน
  • ใช้ในขณะขับขี่จักรยาน ควรมีแท่นติดตั้งบนมือจับจักรยาน
  • โหลดข้อมูล/แผนที่ขึ้น-ลง PC ควรมีสายต่อเข้า PC และซอฟต์แวร์แผนที่ทั่วโลก โดยนำค่า X,Y,Z ที่ได้นำเข้าสู่โปรแกรม GIS เช่น ARCVIEW เป็นต้น
  • ในกรณีที่ไม่มีสายโหลดหรือต้องการบันทึกรายละเอียดเฉพาะตำแหน่งสำคัญ ที่ต้องการ (Waypoint) สามารถจัดเตรียมตารางบันทึกตำแหน่ง พร้อมรายละเอียดของข้อมูลภาคสนามได้เช่นกัน ดังตัวอย่างตาราง
UTM_E UTM_N Description Note Hot_link
ค่าพิกัด แนว Easting ค่าพิกัด แนว Northing (สำหรับบันทึกรายละเอียดสำคัญของพื้นที่) (สำหรับบันทึกข้อมูลอื่นๆ) (สำหรับบันทึกตำแหน่งของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับรูปถ่ายภาคสนาม เพื่อทำการแสดงในโปรแกรม ARCVIEW)



แสดงตัวอย่างการนำเข้าข้อมูล GPS สู่โปรแกรม ARCVIEW (ก)


แสดงตัวอย่างสร้างตำแหน่งในโปรแกรม ARCVIEW (ข)


แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ในโปรแกรม ARCVIEW พร้อมกับการเชื่อมโยง (Hot link) ภาพจากภาคสนาม (ค)