Highlight

Research & Consultancy

Tsunami โศกนาฏกรรมอันดามัน

 
.....อย่าไปตระหนกตกใจกลัวจนเกินเหตุ...จากการให้ข่าวของนัก วิชาการ?จากหน้าตาทางสังคมที่ดูน่าเชื่อถือ?ขยันให้ข่าวสื่อแบบคาดเดาแบบไม่ มีเวลาชัดเจน...จากข่าวที่จะเกิดสึนามิขึ้นอีก (สึนามิที่มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวที่ไม่มีระบบใดบอกได้ล่วงหน้าก่อนการ เกิด) พูดแบบนี้ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ไปอธิบาย..ไม่ใช่ โหราศาสตร์ครับ:-) ....ความรู้ความเข้าใจเชิงพื้นที่จะทำให้เกิดความตระหนัก รู้หลักการ&ถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อม และเตือนอย่างเป็นระบบที่ดีกว่าเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว 9.0 เมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2547 ในทะเลอันดามัน (ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา) ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิต่อแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้านเรา ที่มีเวลาเวลาประมาณ 1.5 ชม. หลังเกิดแผ่นดินไหวก่อนที่คลื่นสึนามิจะถึงชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้าน เรา.....เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยปัญญาของเราได้เพิ่มเติมที่ ...รำลึก 9ปี สึนามิ @ 26 ธันวาคม 2547..ได้ที่
- ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ สำหรับระบบเฝ้าระวัง
  และการจัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต

- การประเมินความเสียหายของพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบจากสึนามิ โดยใช้เทคนิคการ
  ประเมินความแตกต่างของค่า NDVI ของภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat
   ก่อนและหลัง เหตุการณ์ คลื่นยักษ์ Tsunami

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ เขาหลัก จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประยุกต์ใช้ GIS และข้อมูล Remote Sensing เพื่อการประเมินผลกระทบเบื้องต้นทางกายภาพในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami)
Aftershocks of 26 Dec 04 - 27 Mar 05   Aftershocks of 28 Mar 05 - 1 Apr 05   Zoom ...   แผนที่แสดงรอยต่อแผ่นเปลือกโลกและตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดความ รุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2448 - 8 ตุลาคม 2548)
บริเวณทวีปเอเชีย และมหาสมุทรอินเดีย

Aftershocks of
26 Dec 04 - 27 Mar 05
  Aftershocks of
28 Mar 05 - 1 Apr 05
  for more information...

ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พิบัติภัยจาก ดินถล่ม-น้ำปนตะกอนบ่า-น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ

Zoom image
ชื่อหนังสือ ระบบสารสนเทศภูมิศาตร์ ในการบริหารภาครัฐ ( GIS in Government )
แต่งโดย :   ศาสตราจารย ์ดร.วรเดช จันทรศร  และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ISBN 974-13-1645-3
หาซื้อได้ที่ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยที่ผ่านมาได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้องในการวิเคราะห์และวิจัย เพื่อการกำหนดนโยบายและแผนงานของประเทศน้อยมากซึ่งทำให้ข้อเสนอต่าง ๆ ทางด้านการบริหารภาครัฐและการกำหนดนโยบาย ไม่สามารถนำไปสู่แผนงานในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับ ประสิทธิผลเท่าที่ควร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ ที่มีศักยภาพมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในปัจจุบันนานาอารยะประเทศ ได้เริ่มนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารภาครัฐอย่างแพร่หลาย

หนังสือเล่มนี้ จะนำท่านเข้าสู่โลกของการบริหารภาครัฐยุคใหม่ ที่เสนอแนวคิดของการกระจายทรัพยากรและการจัดการโครงสร้างภาครัฐที่ฐานล่าง ที่ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) สภาพข้อเท็จจริงตามความต้องการของประชาชน และสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการพิจารณาและการบูรณาการ (Integration) ภูมิสารสนเทศ (Geo-informatics) ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ให้องค์กรภาครัฐสามารถเข้าถึง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งทำการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐลงสู่พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิผล อย่างเป็นพลวัต (Dynamic) ซึ่งนับเป็น มิติใหม่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และภูมิสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการไทย (GIS in Government)
รายละเอียดของเนื้อหา

ภาคที่ 1: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการบริหารภาครัฐ
  • บทที่ 1 บทนำ
  • บทที่ 2 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) คืออะไร
  • บทที่ 3 เมื่อใดที่ต้องใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • บทที่ 4 พัฒนาการความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทางด้านเทคโนโลยี ทางด้านการบริหาร และการกำหนดนโยบาย
  • บทที่ 5 ประโยชน์ ประสิทธิผล และรูปแบบองค์กรของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารงานส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ
ภาคที่ 2: การพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการปรับปรุงการบริหารราชการไทย ( GIS in Government )
  • บทที่ 6 ปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย
  • บทที่ 7 แนวทางในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาใช้ในการบริหาร ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย
  • บทที่ 8 ข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการบริหารราชการไทย
  • บทที่ 9 ก้าวต่อไปด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการบริหารราชการไทย
สนใจ ! ขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งจองได้ที่ โทรศัพท์ 0-2214-0610 หรือ e-mail : webmaster@gisthai.org